มนุษย์อย่างเรานั้นโดยดีเอ็นเอเลย เป็นคนช่างคิด ช่างประดิษฐ์ค่ะ ไม่ว่าจะเชื้อชาติใด ชนเผ่าใด ต่างก็มีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัวทั้งสิ้น และแต่ละชนชาติก็มักจะใช้ประโยชน์จากสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว เช่น วัสดุจากธรรมชาติ หรือผลผลิตจากสัตว์ นำมาประยุกต์และสร้างสรรค์ชิ้นงานขึ้นมาใหม่ กรณีของรองเท้าก็เช่นกันค่ะ ท่ามกลางสภาพอากาศอันร้อนระอุ และพื้นถนน/ ทางเดิน ที่ไม่ต้องบรรยายถึงอุณหภูมิทะลุจุดเดือดบนพื้นผิวถนน ดิฉันนึกอยากขอบคุณผู้คิดค้นการสร้างรองเท้าขึ้นมาเป็นคนแรกจริงๆ ลองคิดดูสิคะว่า ถ้าเราไม่มีรองเท้าสำหรับสวมใส่ ป่านนี้เท้าของเราคงจะไหม้เกรียมไปแล้วค่ะ ดีไม่ดี ได้ตาปลาเป็นของแถมอีกต่างหาก และเรื่องราววันนี้ อยากให้ทุกท่านได้รู้จักกับเรื่องราวของรองเท้า ว่าถือกำเนิดเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ค่ะ Sandal Shoes History รองเท้าสาน ถือกำเนิดรองเท้ารุ่นแรก ของมนุษยชาติ ตามประวัติศาสตร์นั้น มีบันทึกระบุไว้ว่า รองเท้าถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นโดยชาวอียิปต์ เป็นชาติแรก และอย่างที่เราๆ ก็ทราบกันดีอยู่ว่า ชนชาวอียิปต์นั้น รักการแต่งตัว และการดูแลตนเองเพียงใด ก็ลองดูแม่นางคลีโอพัตราดูสิคะ ตั้งแต่ศรีษะจรดปลายเท้า ความงามอันเลอค่าหาที่ติไม่ได้เลย ถึงขนาดเวลาล่วงเลยมาหลายพันปีแล้วก็ตาม
รองเท้า ของผู้หญิงจีนในราชสำนักช่วงราชวงศ์ชิง ที่นิยมให้ผู้หญิงมีเท้าที่เล็กมากๆ มีการวางแผนการกำหนดขนาดเท้าให้เล็กตั้งแต่เด็กๆ เพราะชาวจีนเชื่อว่าผู้หญิงเท้ายิ่งเล็กยิ่งดี นอกจากนี้แล้วในการประดิษฐ์รองเท้าสำหรับสวมใส่นั้นยังสำมารถจำแนกรูปแบบให้แตกต่างกันไปตามสภาพอากาศ ขนมธรรมเนียม รูปแบบการใช้ชีวิต วิถีทางวัฒนธรรม ฯลฯ ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่เราสามารถพบเห็นจากประวัติศาสตร์รองเท้า ของผู้หญิงจีนในราชสำนักช่วงราชวงศ์ชิง ที่นิยมให้ผู้หญิงมีเท้าที่เล็กมากๆ มีการวางแผนการกำหนดขนาดเท้าให้เล็กตั้งแต่เด็กๆ เพราะชาวจีนเชื่อว่าผู้หญิงเท้ายิ่งเล็กยิ่งดี ยิ่งมีเกียรติและศักดิ์ศรีควรคู่กับการแต่งงานกับเหล่าเสนาบดี หรือชนชั้นสูง และวัสดุที่หาได้ง่ายก็คือ ผ้า เพราะชาวจีนมีความถนัดในการเย็บปักถักร้อย งานทอ และใช้ผ้าเป็นทั้งเครื่องนุ่งห่ม และเครื่องสวมรองเท้า หากข้ามไปทางฝั่งตะวันตก อย่างชาวอเมริกัน กลุ่มชนพื้นเมืองอินเดียแดง ก็นิยมรองเท้าที่ประดิษฐ์ขึ้นจากหนังสัตว์ รวมไปถึงอาวุธที่ใช้ในการป้องกันตนเอง และเครื่องแต่งกายที่ทำจากหนังสัตว์ เพราะเหมาะกับสภาพอากาศและง่ายต่อการหาวัตถุดิบ เพราะชาวอินเดียแดงมีความถนัดในการล่าสัตว์เป็นทุนเดิม
กลุ่มชนพื้นเมืองอินเดียแดง ก็นิยมรองเท้าที่ประดิษฐ์ขึ้นจากหนังสัตว์ รวมไปถึงอาวุธที่ใช้ในการป้องกันตนเอง
คราวนี้เรามาพูดถึงต้นกำเนิดของรองเท้าคู่แรกของโลก ซึ่งถือกำเนิดมาเกือบ 5,000 ปี โดยชาวอียิปต์ รองเท้ารุ่นแรกนั้นไม่ได้มีความสวยงามอะไรนัก เพราะการประดิษฐ์รองเท้าเพื่อการสวมใส่ระยะแรกนั้นเพื่อป้องกันและอำนวยความสะดวกต่อการเดินมากกว่าค่ะ
.
ในประเทศอียิปต์นั้น เมื่อเราจินตนาการภาพของอียิปต์ สิ่งที่เห็นในมโนภาพและจินตภาพเป็นอันดับแรกคือ ปิระมิด และแน่นอนค่ะว่าปิระมิดย่อมตั้งอยู่ท่ามกลางทะเลทรายอันร้อนระอุ ทั้งแห้งและร้อนอย่างที่สุด รองเท้ารุ่นแรกของโลก จึงจะเป็นอื่นใดไม่ได้ นอกจาก รองเท้าแบบสาน ซึ่งชาวอียิปต์ประดิษฐ์รองเท้าสานแบบง่ายๆ คือ หาวัสดุจากพืช หรือ หนังสัตว์ มาประยุกต์รวมกัน กรณีจากพืช เช่น จากต้นปาปิรุส หรือ จากใบปาล์ม เป็นต้น
.
รองเท้าสาน จึงเป็นผลงานประดิษฐ์รองเท้ารุ่นแรก ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนท่ามกลางทะเลทราย รองเท้ารุ่นแรกจึงมีรูปแบบที่สวมใส่สบาย ไม่อับ ไม่ชื้น และที่สำคัญคือ ระบายอากาศได้ดี รูปแบบรองเท้าจึงมีเพียงสายที่ทำจากต้นพืช หรือ หนังสัตว์ 2 เส้น พาดไปมา และพื้นรองเท้าที่ทำจากหนังสัตว์ เพราะมีความแข็งแรงทนทานค่ะ
.
.
รองเท้าแบบนี้ยังมีให้ชมในปัจจุบันนะคะ แม้กาลเวลาจะผ่านพ้นมาหลายพันปีแล้ว แต่หลักฐาน รองเท้าสานรุ่นแรกของชาวอียิปต์ และของมนุษย์ มีให้ทุกท่านได้เรียนรู้ที่ ทั้งที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์ ในกรุงไคโร และ พิพิธภัณฑ์รองเท้าบาจา เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา ค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์ จะมีรองเท้าของกษัตริย์ตุตันคามัน และกษัตริย์พระองค์ก่อน ที่ขุดค้นได้จากสุสานส่วนพระองค์ในปิระมิด และมีสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์มากถึง 42 คู่ ให้ได้ชมกันอย่างใกล้ชิด ลักษณะรองเท้าจะเป็นแบบเรียบๆ เน้นการสวมใส่ที่สบาย บางคู่มีการประดับประดาด้วยอัญมณีอันวิจิตร และรูปแบบรองเท้า จะถูกออกแบบให้มี 2 ลักษณะเด่นที่สื่อความหมายถึง อำนาจที่มีอยู่เหนือข้าศึกศัตรู ส่วนการประดับตกแต่งดอกอัญมณี และรูปดอกไม้อันสวยงาม บ่งบอกให้เห็นถึงความสำเร็จ ความเป็นปึกแผ่นของอาณาจักร หรือความสมบูรณ์ในรัชสมัยนั้น
.
รูปแบบรองเท้าสานที่ถูกเก็บรักษาที่นี่ พื้นจะเป็นไม้ และสายรัดรองเท้าเป็นการถักทอของต้นปาปิรุสค่ะ พิพิธภัณฑ์ ณ กรุงไคโรแห่งนี้ รวมถึงพิพิธภัณฑ์บาจาที่เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา ยังมีรองเท้าที่ประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุพืช และหนังสัตว์อีกหลายรูปแบบ ทั้งนี้เป็นสิ่งที่ขุดได้จากสุสานของกษัตริย์ตุตันคามัน
.
นอกจากนี้ยังมีรองเท้า ที่ประดับอัญมณีสวยๆ อีกหลายคู่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นของกษัตริย์ หรือ พระราชินี ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้สวมใส่เฉพาะในงานพระราชพิธีที่สำคัญเท่านั้น โดยยังมีภาพสลักนูนต่ำของเหล่าข้าราชบริพารที่คอยเดินถือรองเท้าตามให้กษัตริย์ สำหรับชาวอียิปต์ ยังมีความเชื่อว่า รองเท้าคือสิ่งที่มีคุณค่าและมีความสำคัญ เป็นเครื่องประดับ และเครื่องแต่งกายที่สำคัญที่สุด ชาวอียิปต์จะไม่ใส่รองเท้าพร่ำเพรื่อ แต่เลือกที่จะใส่เมื่อมีโอกาสอันสำคัญเท่านั้น
เห็นกันแล้วหรือยังคะว่า รองเท้ามีความสำคัญเพียงใด ลองหมุนเวลากลับมาในยุคปัจจุบัน เรามีรองเท้าหลากหลายให้เลือกสวมใส่กันมากขึ้น ทั้งหมดทั้งมวล รองเท้าในปัจจุบันไม่ได้มีแค่ไว้ป้องกันเท้าเราจากความร้อนเท่านั้น แต่สำหรับในสังคมสมัยใหม่ รองเท้ายังบ่งบอกสถานะทางสังคมได้อีกด้วย จะเลือกรองเท้าแบบไหนใส่ ยี่ห้อใดก็ตามแต่ สิ่งสำคัญที่สุดคือ รองเท้าคู่นั้นต้องก่อให้เกิดความสบายในการสวมใส่ ไม่รัดแน่นเกินไป วัสดุดี ยืดหยุ่นและเหมาะกับสภาพของเท้าเรานะคะ จึงจะพาเราเดินท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆได้อย่างสำราญใจ ^^
ref. History of Fashion ศาสตราจารย์ ดร . พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง https://worldhistoryforyou.quora.com/Disturbing-King-Tutankhamun , http://www.artofcounting.com/2010/07/14/analysis-of-royal-sandals-in-ancient-egypt-part-1/#!prettyPhoto/0/ พิพิธภัณฑ์รองเท้าบาจา http://www.batashoemuseum.ca/hours-and-admission/
Cultures of Fermented
by Scoby Doit
Related