miscellaneous, Thai Book Review แนะนำหนังสือ

จ้วนฉินไจ้ อัญมณีเม็ดงามแห่ง พระราชวังต้องห้าม ตอนที่ ๑

     อุทยานของจักรพรรดิเฉียนหลง จ้วนฉินไจ้ ภายใน พระราชวังต้องห้าม The Secret Garden หรือ Qianlong Garden  ….  ตั้งอยู่ด้านบนสุด ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวังต้องห้าม บริเวณแห่งนี้ถูก ปิดตาย มาอย่างยาวนาน นับแต่จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิง ได้ถูกขับออกจากพระราชวังต้องห้าม ไปในปีคริสต์ศักราช ๑๙๒๔ ซึ่งถือว่าเป็นปีแห่งการ ล่มสลายของราชวงศ์ชิง นับจากนั้นมา อุทยานลับ ของจักรพรรดิเฉียนหลง จึงถูกปิดเป็นความลับ ไม่เคยเปิดแก่สาธารณะชน หรือผู้ใดก็ตามที่จะได้ยลความงดงามของอุทยานแห่งนี้อีกเลย

     พระราชวังต้องห้าม หรือ พระราชวังกู้กง ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๓ หรือ ปีคริสต์ศักราช ๒๐๒๐ นี้ เป็นปีที่พระราชวังแห่งนี้จะมีอายุครบ ๖๐๐ ปี ซึ่งแน่นอนว่าความพิเศษของ พระราชวังต้องห้าม ในปีนี้ จะต้องมีสิ่งที่พิเศษมากกว่าเดิม แม้ว่าสถานการณ์ในช่วงระยะเวลานี้ จะยังคงมี โรคระบาดโควิด19 ซึ่งยังเอาแน่เอานอนไม่ได้ว่าการระบาดระลอกใหม่จะเกิดขึ้นอีกเมื่อใด และจะเกิดขึ้นอีกกี่รอบ

จ้วนฉินไจ้ พระราชวังต้องห้าม

ความมหัศจรรย์ของ พระราชวังต้องห้าม บนพื้นที่ขนาด ๔๕๐ ไร่ ยังมีอีกหลายพื้นที่ ที่ยังไม่ได้เคยเปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยวได้เข้าชม และเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติจีนผ่านเรื่องราวทางรูปลักษณ์ สถาปัตยกรรม ศิลปะวัตถุภายในอาณาบริเวณโดยรอบของพระราชวัง


 

เมื่อปีคริสต์ศักราช ๒๐๐๒ ที่ผ่านมา องค์กร World Monuments Fund หน่วยงานที่สนับสนุนการช่วยเหลือและบูรณะโบราณสถานสำคัญระดับโลก ยกตัวอย่างโบราณสถานสำคัญของโลกที่ทาง World Monuments Fund ได้ให้การสนับสนุนมีโบราณสถานของประเทศไทย เช่น วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา

ทางองค์กร World Monuments Fund ได้มีการตกลงกันอย่างเป็นทางการ กับ พิพิธภัณฑ์พระราชวัง (Palace Museum) ในการร่วมมือกัน บูรณะซ่อมแซมอุทยานแห่งหนึ่งในพระราชวัง ซึ่งถือเป็นไฮไลท์ที่สำคัญ และน่าสนใจที่สุดอีกแห่งภายใน พระราชวังต้องห้าม และอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นพื้นที่ที่พิเศษและงดงามที่สุดของพระราชวังอีกด้วย ที่แห่งนี้ คือ …..

 

จ้วนฉินไจ้ พระราชวังต้องห้าม

 

The Secret Garden  “The Palace of Tranquil Longevity of Emperor”  

( จ้วนฉินไจ้ อุทยานของจักรพรรดิเฉียนหลง หรือ สวรรค์ในโลกส่วนพระองค์ )

      The Secret Garden หรือ Qianlong Garden ตั้งอยู่ด้านบนสุด ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ พระราชวังต้องห้าม บริเวณแห่งนี้ถูก ปิดตาย มาอย่างยาวนาน นับแต่ จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิง ถูกขับออกจากพระราชวังต้องห้าม ในปีคริสต์ศักราช ๑๙๒๔ ซึ่งถือว่าเป็นปีแห่งการ ล่มสลายของราชวงศ์ชิง นับจากนั้นมา อุทยานลับ ของจักรพรรดิเฉียนหลง จึงถูกปิดเป็นความลับ ไม่เคยเปิดแก่สาธารณะชน หรือผู้ใดก็ตามที่จะได้ยลความงดงามของอุทยานแห่งนี้อีกเลย

 

จ้วนฉินไจ้ พระราชวังต้องห้าม

จ้วนฉินไจ้ ในราชวังต้องห้าม
ภาพวาดจักรพรรดิเฉียนหลง โดยศิลปิน Giuseppe Castiglione ศิลปินผู้ถวายการรับใช้ในรัชสมัยของราชวงศ์ชิง

อุทยานเฉียนหลงฮวาหยวน (Qianlong Garden)

ถูกสร้างขึ้นในสมัย องค์จักรพรรดิเฉียนหลง จักรพรรดิจีนลำดับที่ ๔ แห่งราชวงศ์ชิง ปีเฉียนหลงที่ ๓๗ โดยพระองค์ทรงปกครองแผ่นดินจีน มาตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช ๑๗๓๕ จนถึง ปี ๑๗๙๖ และ ได้สร้างอุทยานส่วนพระองค์ที่ชื่อว่า Qianlong Garden นับถึงปัจจุบันนี้ก็มีอายุกว่า ๒๔๐ ปีแล้ว

ภายในอุทยานแห่งนี้สันนิษฐานกันว่า พระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่อให้พระมารดาของพระองค์ และเป็นที่พำนักอาศัยครั้งสุดท้ายในชีวิตบั้นปลายของพระองค์เอง แต่การณ์หาเป็นไปดังที่ตั้งใจไว้ พระองค์ไม่ได้พำนักแม้แต่คืนเดียวในอุทยานที่ทรงปรารถนาแห่งนี้ การเสด็จสวรรคตของพระองค์พรากพระองค์ไปก่อนที่ จะสร้างเสร็จ

Qianlong Garden หรืออุทยานเฉียนหลงฮวาหยวน ประกอบด้วยสวนสวยอันมากมาย ซึ่งแวดล้อมไปด้วยพระตำหนักต่างๆ ถึง ๒๗ หลัง ตำหนักแต่ละหลัง ได้รับการรังสรรค์ขึ้นจากช่างฝีมืออันเป็นที่สุดของแผ่นดินจีน ทั้งโครงสร้าง วัสดุ วัตถุดิบที่ใช้ในการสร้าง และการตกแต่ง ล้วนเป็นสิ่งของที่หาได้ยากยิ่ง เป็นงานฝีมืออันประณีตสุดยอด วิจิตรพิสดาร เท่าที่ราชสำนักจะเฟ้นหาได้บนแผ่นดินมังกรในรัชสมัยของพระองค์

การบูรณะซ่อมแซม และปรับปรุงพื้นที่แห่งนี้ จึงเป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง เพราะวัสดุ วัตถุดิบในยุคนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับยุคนี้ที่ผ่านมากว่า ๒๔๐ ปี ทาง World Monuments Fund และ พิพิธภัณฑ์พระราชวัง แทบจะต้องพลิกแผ่นดินมังกรในการเฟ้นหา นับเป็นงานที่ยากสุดแสนจะบรรยาย เพราะแม้ว่าจะหาวัสดุ วัตถุดิบได้ แต่ช่างฝีมือนั้นหายากยิ่งกว่าการงมเข็มในมหาสมุทรเสียอีก

ทางเจ้าหน้าที่ World Monuments Fund และ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังฯ จึงต้องทำงานร่วมกันกับผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขาวิชาชีพ วิศวกร , นักโบราณคดี , นักวิทยาศาสตร์ ,ศิลปิน ,นักวิชาการ และ นักประวัติศาสตร์ ฯลฯ ทีมงานทุกฝ่ายต้องทำงานกันอย่างหนัก เพื่อที่การบูรณะอุทยานเฉียนหลงฮวาหยวน พื้นที่อันเป็นอัญมณีเม็ดงามที่สุดของพระราชวัง จะได้สวยสมกับเป็นอัญมณีเม็ดแรกที่ถูกค้นพบ และพระตำหนักหลังแรกที่ได้รับการคัดเลือกให้เริ่มบูรณะซ่อมแซมเป็นอันดับแรก มีนามว่า

จ้วนฉินไจ้ (Juanqinzhai Studio)

Juanqinzhai Studio
Country: China
Site: Juanqinzhai
Caption: Post-restoration interior
Image Date: 2008
Photographer: Si Bing, Palace Museum
Provenance: Site Visit
Original: from digital CD CHN039

Juanqinzhai Studio หรือ จ้วนฉินไจ้  เป็นเรือนหลังแรกในบรรดาอาคาร/ พระตำหนัก  จำนวน ๒๗ หลัง ที่ได้รับการคัดเลือกให้บูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ และรอวันเปิดตัวสู่สาธารณชนโลก

   สำหรับตำหนัก จ้วนฉินไจ้ เรือนหลังนี้ มีความโดดเด่น ในด้านของความงามและเรื่องราวของผ้าไหมสุดวิเศษ , งานแกะสลักไม้ ,งานหยก รวมถึงผ้าทอ และภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังแบบ ๓ มิติ ที่ประดับประดาอยู่ภายในเรือนอย่างงดงามและอลังการเป็นอย่างมาก

เรือนหลังนี้ คือส่วนหนึ่งของ อุทยานเฉียนหลงฮวาหยวน ตั้งอยู่ในมุมสงบที่สุดบนพื้นที่ ราว ๒ เอเคอร์ หรือบนพื้นที่ขนาด ๑๖๐ x ๔๐ เมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวังต้องห้าม สร้างเสร็จในปีคริสต์ศักราช ๑๗๗๖ อุทยานแห่งนี้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจส่วนพระองค์ ทรงสร้างขึ้นเพื่อให้พระมารดาได้พักผ่อน รวมถึงเป็นที่มั่นฐานสุดท้ายของการพักผ่อนในบั้นปลายชีวิตของพระองค์

แผนที่พระราชวังต้องห้าม

อุทยานของจักรพรรดิเฉียนหลง จ้วนฉินไจ้ ราชวังต้องห้าม
ภาพถ่ายโดย : https://www.travelchinaguide.com/
Juanqinzhai Studio
พรรณไม้ ๓ ชนิดที่เป็นหัวใจหลักและสัญลักษณ์ตามความเชื่อของปราชญ์จีนโบราณ คือ ต้นไผ่ , ต้นสน และต้นพลัม หรือบ๊วย

ภายในอุทยานเฉียนหลงฮวาหยวน มีทั้งพื้นที่ซึ่งเป็น เรือนพักผ่อน สันทนาการ โรงมหรสพ สวนสวยที่เต็มไปด้วยพรรณไม้อันงดงาม รวมถึงพรรณไม้ ๓ ชนิดที่เป็นหัวใจหลักและสัญลักษณ์ตามความเชื่อของปราชญ์จีนโบราณ คือ

ต้นไผ่ , ต้นสน และต้นพลัม หรือบ๊วย  

“ตามความเชื่อของปราชญ์ชาวจีนนั้น พรรณไม้ทั้ง ๓ ชนิด สามารถอยู่ทนได้ทุกฤดูกาลไม่ว่าจะหนาวเหน็บเพียงใด หรือต้องผจญกับพายุหิมะ” 

ทั้งต้นไผ่ ต้นสน และต้นพลัม ก็ยังคงเติบโตอวดความงามตามธรรมชาติโดยไม่มีภัยธรรมชาติใดๆ ทำอันตรายได้ เปรียบเสมือนกับความซื่อสัตย์ มั่นคง และจงรักภักดีสืบไป

นอกจากนี้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของพระตำหนัก เรือน อาคารต่างๆ ภายในอุทยาน ยังถูกออกแบบมาได้อย่างงดงาม ลงตัวกับพื้นที่อย่างวิเศษที่สุด


     

      จักรพรรดิเฉียนหลง ชื่นชอบในศิลปะ กวี ดนตรี งานประพันธ์ งานแสดงและการละเล่นเป็นอย่างยิ่ง จะเห็นได้จากหลักฐาน บรรดาของสะสมต่างๆ เช่น ภาพวาด นาฬิกาที่เต็มไปด้วยกลไกต่างๆอันพิเศษสุด ของตกแต่ง และเครื่องประดับอีกมากมาย ที่ล้วนหาได้ยาก มีทั้งงานของจีนเอง งานศิลปะตะวันออก รวมไปถึงศิลปะตะวันตก ก็ทรงโปรดปรานอย่างที่สุด ความชื่นชอบและรสนิยมของพระองค์ จึงถูกถ่ายทอดออกมาผ่านความงาม ประณีต วิจิตร และโอ่อ่าของบรรดาเรือน/ อาคาร และพระตำหนัก ที่ตั้งอยู่ภายในอุทยาน

พระราชวังต้องห้าม นาฬิกา
ภาพนาฬิกาสะสมเรือนโปรดของจักรพรรดิเฉียนหลง พระองค์ทรงโปรดให้นำเรือนนี้ไปไว้ในพระตำหนักในอุทยานเฉียนหลงฮวาหยวน

จ้วนฉินไจ้ มีความหมาย ถึง เรือนที่พักหลังสุดท้ายของชีวิต

เป็นเรือนหลังแรกในอุทยาน ที่ได้รับ การบูรณะซ่อมแซม ความงามของเรือนหลังนี้จึงมีความพิเศษสุดแห่งยุคสมัย แม้ว่าในยุคนั้นจะไร้แสงสว่างจากนวัตกรรมไฟฟ้าเช่นในปัจจุบัน แต่ความงามและแสงสว่างจากพระจันทร์ในยามค่ำคืน หรือแม้แต่แสงสุริยันในยามกลางวัน ต่างก็ทำให้ จ้วนฉินไจ้  ใน พระราชวังต้องห้าม  งดงามราวกับสรวงสวรรค์บนดินอันเงียบสงบ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างได้ถูกทอดทิ้งไปหลังราชวงศ์ชิงล่มสลาย อัญมณีเม็ดงามแห่งนี้จึงถูกลืมไปนับแต่นั้นเป็นเวลานับร้อยปี

องค์กรอนุรักษ์สถานโลก (World Monuments Fund) ร่วมมือกับทางพิพิธภัณฑ์พระราชวังในการบูรณะพื้นที่ตรงนี้ เพื่อเฉลิมฉลองพระราชวังต้องห้าม เมืองปักกิ่ง ในวาระที่มีอายุครบ ๖๐๐ ปี ในปีคริสต์ศักราช ๒๐๒๐

ประชาสัมพันธ์


 

การเริ่มงานบูรณะซ่อมแซมในครั้งแรก เป็นสิ่งที่ยากลำบากยิ่ง ทั้งการหาวัสดุ วัตถุดิบ และช่างฝีมือที่ยังคงอนุรักษ์กรรมวิธีในการผลิตวัตถุดิบ และวัสดุต่างๆ ในรูปแบบโบราณหรือราวกว่า ๒๔๐ ปีก่อน หลักๆ ของการอนุรักษ์ในครั้งนี้ ทางหน่วยงานทั้ง ๒ แห่ง ต่างช่วยกันค้นคว้า และเดินทางไปยังแต่ละ พื้นที่ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านการทำกระดาษ งานปักไหม งานทอผ้าไหม งานแกะสลักไม้ ฯลฯ รวมถึงต้องหาช่างฝีมือในระดับตำนานของแผ่นดิน จากรุ่นสู่รุ่น

เฉลิมฉลองพระราชวังต้องห้าม เมืองปักกิ่ง

      โดยในตอนหน้า จะมาเล่าเรื่องการบูรณะซ่อมแซมเรือน จ้วนฉินไจ้ ใน พระราชวังต้องห้าม รวมถึงการทำความรู้จักกับมรดกทางศิลปะที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาจีน วิธีคิด และการสร้างสรรค์งานศิลปะ ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจถึงรูปแบบการอนุรักษ์โบราณสถานของจีนที่มีความละเอียด ประณีต และต้องใช้ความพยายามว่ามีมากเพียงใด ติดตามต่อในตอนหน้านะคะ ^^

 

แนะนำหนังสือ

ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ประเทศจีน

หนังสือ แนะนำ
รวมหนังสือ ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์จีน

 

 

อ้างอิงภาพ: World Monuments Fund (WMF.ORG), pixabay.com



Cultures of Fermented 
by Scoby Doit
Previous ArticleNext Article