หากพูดถึง โรคข้อเข่าเสื่อม หลายๆ คน คงคิดว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นเฉพาะสำหรับผู้สูงวัย เท่านั้น .. แต่ความเป็นจริงแล้ว ไม่ต้องรอให้สูงวัย กระดูกข้อเข่าก็สามารถเสื่อมได้ในวัยหนุ่มสาว ค่ะ !!??
เกิดคำถามต่อมาว่า แล้ว ภาวะ โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดขึ้นได้อย่างไร ในวัยหนุ่มสาว ?? คงต้องไปดูว่าพื้นฐานทางสุขภาพ รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคนนั้น เป็นอย่างไร มีการทำกิจกรรมหรือ การออกกำลังกายอย่างหักโหมมากเกินไป หรือผิดวิธีหรือไม่ ? รวมถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่คาดฝัน เช่น อุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจจะเป็นสาเหตุ หรือจุดเริ่มต้น ให้ข้อเข่าของเราเสื่อม หรือมีอายุการใช้งานสั้นกว่าที่ควรจะเป็นได้
ดังที่กล่าวมานี้ เป็นสาเหตุเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แล้วจะทำอย่างไร ให้ข้อเข่า ข้อต่อกระดูกในร่างกายของเรา มีสุขภาพที่แข็งแรง และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากยิ่งขึ้น สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ เราต้องคำนึงถึงสุขภาพพื้นฐานของเราเองเป็นหลักเลยค่ะ โดยพิจารณาจากการใช้งานร่างกายของเราในแต่ละวัน รวมถึงการดูแลรักษา เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการใช้งานจนทำให้เกิดอาการบาดเจ็บกับข้อเข่า
แล้วจะทราบได้อย่างไรว่า อาการปวดเข่า ปวดข้อกระดูกของเรานั้น มีความเสี่ยงที่จะเป็น โรคข้อเข่าเสื่อม ?
แน่นอนว่าเราไม่สามารถที่จะวินิจฉัยโรคได้ด้วยตัวเราเอง คงจะต้องพึ่งพา นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง โรคกระดูกและข้อ ในการตรวจสอบว่าอาการเจ็บปวดที่เราเป็นอยู่ คือ อาการหนึ่งของโรคข้อเข่าเสื่อม
GQ กางเกงชิโน ผ้ายืด สีแดง ใส่สบาย น้ำหนักเบา สะท้อนน้ำ เหมาะกับอากาศร้อน สบายจริงๆ สบายจัดๆ
GQ กางเกงชิโน >> คลิ๊ก
ซึ่งปัจจุบันนี้มี เทคโนโลยีดิจิตอล ( Digital X-ray ) รวมถึง ระบบอัลตร้าซาวน์นำวิถี ( Musculoskelatal Ultrasound ) ซึ่งใช้ในการตรวจสแกนระบบเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ เส้นประสาท พื้นผิวกระดูก ทำให้สามารถวินิจฉัยอาการอักเสบ บาดเจ็บได้อย่างแม่นยำ ทำให้สามารถวางแผนในการรักษาได้อย่างทันท่วงที
และเมื่อเราพึ่งพาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการวินิจฉัยแล้ว ขั้นตอนการรักษาก็มีนวัตกรรมใหม่ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน โดยที่ผู้ป่วยบางกรณีไม่ต้องพึ่งพามีดหมอ หรือ การฉีดยาด้วยสเตียรอยด์เหมือนในอดีต เพราะการฉีดยาสเตียรอยด์นั้นย่อมมีผลข้างเคียงในระยะยาว คือ ทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อมีปัญหา และเกิดการเจ็บปวดได้ในภายหลัง แต่ปัจจุบันนี้เราไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับยาฉีดที่มีผลข้างเคียงดังว่าแล้วค่ะ เพราะมีเทคโนโลยีในการสร้างน้ำเลี้ยงข้อเทียมเพื่อทำการรักษาแทน และได้ผลดีไม่แพ้การผ่าตัด
ทั้งนี้ทั้งนั้นการฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียมจะต้องคำนึงถึงปัจจัยและความพร้อมของสุขภาพคนไข้ ณ เวลานั้นประกอบด้วย แต่ก็นับได้ว่าเป็นนวัตกรรมทางเลือกในการรักษาแบบใหม่ที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก
อาการปวดเข่า ปวดข้อ หากเป็นในระยะเวลาสั้นๆ แล้วหายปวดไป ก็อย่าได้วางใจเพราะอาการในระยะเริ่มต้นอาจจะแสดงเพียงเล็กน้อย แต่เราจะต้องหมั่นสังเกต พูดง่ายๆ คือ ผู้ป่วยทุกท่านควรเป็นแพทย์ให้กับตัวท่านเองก่อน ด้วยการสังเกตอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น และอย่ารอช้าที่จะปรึกษาแพทย์เฉพาะด้าน เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยให้ชัดเจน และรักษาได้ทันท่วงทีค่ะ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม อาการเบื้องต้น ความแตกต่างของน้ำเลี้ยงข้อเทียมกับคอลลาเจน การออกกำลังกาย ท่าบริหารข้อเข่า กล้ามเนื้อ ข้อต่อ ฯลฯ
ท่านสามารถเรียนรู้ได้จากคลิปข่าวสาร สกู๊ป Weekly Ringside จากรายการ Thailand Weekly ซึ่งออกอากาศทางช่อง ไทยรัฐทีวี 32 โดยอาจารย์แพทย์สุนทร ศรีสุวรรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลหาดใหญ่ และ คลิปชุดความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมทั้ง 4 ตอน ซึ่งรับรองว่าท่านจะได้ความรู้เกี่ยวกับ โรคข้อเข่าเสื่อม รวมถึงแนวทางในการรักษา หากรู้ตัวเบื้องต้น เราจะได้ทำการรักษาข้อเข่าของเราให้มีอายุในการใช้งานได้ยาวนาน
ที่สำคัญอื่นใด เราจะได้ตระหนักไว้เสมอว่า “โรคข้อกระดูกหัวเข่าเสื่อม” ไม่ใช่โรคที่ไกลตัวเรา เพราะวันหนึ่งข้างหน้าโรคนี้อาจจะเข้าใกล้ตัวเราได้เร็วกว่าที่คิดไว้ เพราะฉะนั้นการวางแผน หมั่นสังเกตอาการปวดเข่า และศึกษาข้อมูลเบื้องต้นถึงวิธีการรักษา การบริหารกล้ามเนื้อ ข้อเข่าให้ถูกวิธีก็จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการดูแลสุขภาพของเราในอนาคตได้เป็นอย่างดี
คลินิกหมอสุนทร กระดูกและข้อ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ให้บริการตรวจรักษา โรคเฉพาะทาง กระดูกและข้อ กล้ามเนื้อและเส้นประสาท โดยอาจารย์แพทย์ออร์โธปิดิกส์ ผู้เชี่ยวชาญในด้านการวินิจฉัยโรค ด้วยวิธีการ ให้การรักษาทางยา , การผ่าตัด , ฉีดน้ำเลี้ยงไขข้อเทียม , การกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของการทำงานของกล้ามเนื้อกระดูกและข้อให้กลับคืนมา
บริการตรวจรักษาโรค กระดูกและข้อ กล้ามเนื้อและเส้นประสาท
- ปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อม ข้อเข่าอักเสบ
- ปวดหลัง ปวดเอว ปวดร้าวลงขา
- หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท , กระดูกสันหลังเคลื่อน
- ปวดไหล่ ข้อไหล่ติด ยกแขนไม่สุด
- โรคกระดูกพรุน กระดูกเสื่อม กระดูกเปราะ
- ข้อเท้า กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น อักเสบ
- มือชา นิ้วล็อก โรคพังผืดเส้นประสาท
- ข้อมืออักเสบ ปวดข้อศอก โรคข้อเทนนิส
- โรคเก๊าต์ ปวดส้นเท้า และฝ่าเท้า
โดย นายแพทย์สุนทร ศรีสุวรรณ์ (เกียรตินิยม )
คลินิกหมอสุนทร กระดูกและข้อ
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
https://www.thedoctorbone.com/
https://www.facebook.com/doctorbonehatyai
https://www.bagindesign.com/author/doctor-bone/