Thai Book Review แนะนำหนังสือ, Uncategorized

Minimalist น้อยชิ้น มากชีวิต

การรู้จักพอ และจำกัดความต้องการของความคิดในการใช้ชีวิต กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น

            Small is Beautiful

        คำกล่าวที่นักคิด นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังชาวอังกฤษ   Ernst Friedrich “Fritz” Schumacher ได้กล่าวไว้ในหนังสือที่เขาเขียนขึ้นในปี ค..1973 และใช้ชื่อนี้เป็นชื่อหนังสือของเขา กลายเป็นหนังสือที่มีคุณค่า และมีอิทธิพลต่อการคิดและเป็นกระแสอย่างมาก ณ เวลานั้น เพราะสวนทางกับช่วงเวลาที่กระแสทุนนิยมกำลังเติบโต

     Ernst Friedrich “Fritz” Schumacher หรือ E.F.Schumacher ได้กล่าวไว้ว่า   Small is Beautiful” เป็นคำพูดที่ได้จากอาจารย์  Dr.Leopold Kohr นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่คอยขับเคลื่อนการกำจัดปริมาณความต้องการของคนให้รู้จักกับความพอดี E.F.Schumacher ได้นำสิ่งที่อาจารย์ Dr.Leopold Kohr พร่ำสอนมาต่อยอดด้วยความสนใจ ทำให้คำว่า “Small is Beautiful” กลายเป็นวลีที่ได้รับความนิยม และ มีผู้คนจำนวนมากมายเห็นพ้องกับสิ่งที่ E.F.Schumacher ได้คิดเห็นไว้

Minimalist
ยิ่งน้อยชิ้น เขายิ่งพบพากับความสุขมากขึ้น

        การรู้จักพอ และจำกัดความต้องการของความคิดในการใช้ชีวิต กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น  และมีชาวญี่ปุ่นหลายต่อหลายครอบครัว เริ่มปรับและเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุซึ่งความสุขอย่างยั่งยืน แม้ว่าจะสวนกระแสกับลักษณะทางกายภาพของประเทศ ซึ่งมีบทบาทต่อการเจริญเติบโตเป็นอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจระดับโลก


 

       ชาวอาทิตย์อุทัย เริ่มมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตอย่างสมถะมากขึ้น ยิ่งน้อยชิ้น เขายิ่งพบพากับความสุขมากขึ้น และด้วยความที่เป็นชาวอาทิตย์อุทัย ความเรียบง่าย พอดีและเข้าถึงธรรมชาติ ทำให้แนวคิด Minimalist ยิ่งง่ายและได้รับความนิยมมากขึ้น

คุณ Fumio Sasaki บรรณาธิการหนุ่มวัย 36 ปี เป็นอีกผู้หนึ่งที่นำหลักของ Minimalist มาใช้กับชีวิต เขาบอกว่า เงินไม่ได้เป็นปัจจัยที่สำคัญนักกับการใช้ชีวิตของเขา ทุกวันนี้เสื้อผ้าที่เขาสวมใส่ มีไม่กี่ชุด แต่เขาเลือกในสิ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนและทดแทนกันได้ให้กับตัวเขา แนวความคิดที่ยิ่งรู้จักพอ ยิ่งได้รับมากขึ้นจึงเป็นทางที่เขาเลือก และเขาเองก็มีความพอใจกับแนวคิดนี้เป็นอย่างมาก เพราะตรงกับหลักศาสนานิกายเซน ซึ่งเป็นนิกายที่ชาวญี่ปุ่นให้ความเคารพ เน้นสอนการใช้ชีวิตอย่างสมถะและเรียบง่ายที่สุด

เรียบง่ายที่สุด
เงินไม่ได้เป็นปัจจัยที่สำคัญนักกับการใช้ชีวิตของเขา ทุกวันนี้เสื้อผ้าที่เขาสวมใส่ มีไม่กี่ชุด แต่เขาเลือกในสิ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนและทดแทนกันได้ให้กับตัวเขา

           คุณ Sasaki เดิมที เขาเป็นบุคคลที่ชื่นชอบ และเป็นนักสะสมทั้งหนังสือ CD/DVD เขามีแทบจะทุกเล่ม และทุกแนว จะเก่าหรือใหม่ เขาไม่เคยหลุดเทรนด์ แต่หลังจาก 2 ปี ผ่านไป เขาเริ่มตระหนักในสิ่งของที่เขาซื้อหามาไว้จนเต็มบ้านว่า แท้จริงแล้ว เขาไม่ได้เป็นเจ้าของสิ่งเหล่านี้ และยิ่งมีมากขึ้นเท่าไหร่ บ้านก็รกขึ้นเท่านั้น เขายังต้องเสียเวลากับการจัดเก็บ และทำความสะอาดในแต่ละวัน เขายังให้ความเห็นเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ยิ่งเขามีสิ่งของในบ้านน้อยลง ความกังวลใจของเขาก็ยิ่งมีน้อยลงตามไปด้วย นั่นคือ สิ่งที่เขาปรารถนา

ประชาสัมพันธ์
 เครื่องดื่ม โพรไบโอติก Probiotics-n1
KOMBUCHA BY SCOBY DO IT เครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการหมัก มีสรรพคุณทางยา โดยมี “จุลินทรีย์ โพรไบโอติก Probiotics” ที่เป็นพระเอกของเครื่องดื่มชนิดนี้

         เขายังยกตัวอย่างถึงเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดกับประเทศญี่ปุ่น หรือแม้แต่ประเทศ/ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ใดที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติได้ง่าย ควรนำหลักการ Minimalist หรือ Less is More ไปใช้ อย่างเช่น เหตุการณ์สินามิครั้งใหญ่ในปี ค..2011 ที่คลื่นสึนามิพัดพาสิ่งของและสร้างความเสียหายให้กับประเทศมาก หากทุกคนครอบครองสิ่งของในบ้านไม่กี่ชิ้น มีเท่าที่ใช้ และใช้เท่าที่สิ่งของเหล่านั้นจะทำให้เกิดประโยชน์ ทุกคนก็จะไม่ต้องเป็นกังวลกับการหลบหนี และจะไม่รู้สึกเสียดาย หรือเสียใจกับสิ่งที่สูญเสียไป

      กลับมาในมุมมองของประเทศไทยของเรา Minimalist, Less is More หรือแม้แต่ Small is Beautiful คำเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งใหม่เลยสำหรับคนไทย แต่เป็นสิ่งที่เรารับรู้กันมายาวกว่า 20 ปีแล้ว และนักคิดที่ยิ่งใหญ่ของคนไทย ก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงมีพระราชดำริในเรื่องของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาอย่างยาวนาน ทรงทำเป็นแบบอย่าง และพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสถึงเรื่องความพอเพียงอยู่สม่ำเสมอ

 หลักการง่ายๆ ของความพอเพียง ที่พระองค์ทรงสอนให้คนไทยตระหนักอยู่เสมอ นั่นคือ การเดินทางสายกลาง: ความรู้จักพอประมาณ, มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หากมีสิ่งเหล่านี้ในตัวเราทุกคนแล้ว สังคม เศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ ฯลฯ ก็จะดีตามเอง อย่างไม่ต้องสงสัย

ทางสายกลางในแนวทางพระราชดำรัส นั้น พระองค์ทรงให้คำอธิบายความหมายเพิ่มเติมดังนี้

ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ

ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

       ทางสายกลางในแนวทางของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย และเกิดผลจริง หากแต่ต้องใช้ใจเป็นประธานในการนำพาชีวิต ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นความสุขอย่างพอเพียงที่สัมผัสได้อย่างแท้จริง

          เห็นแล้วหรือไม่ว่า การมีน้อย หรือ มีแต่เพียงพอนั้น ก่อให้เกิดความสุขที่แท้จริงเพียงใด นอกจากจะดีต่อสุขภาพใจแล้ว ยังดีต่อสังคมที่เราอาศัยอยู่อีกด้วย มาร่วมกันน้อมนำแนวทางพระราชดำริมาใช้ เราก็จะเข้าใจถึงความพอเพียง การมีน้อย แต่มากความสุขได้อย่างยั่งยืนค่ะ

“Less is More”

is

“Sustainability of Living”

 

 

Reference:  http://www.japanbullet.com/news/minimalist-lifestyle-attracting-young-people-in-japan



Cultures of Fermented 
by Scoby Doit
Previous ArticleNext Article