miscellaneous, Thai Book Review แนะนำหนังสือ, Uncategorized

พระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองละโว้ พระราชวังแห่งที่ ๒ ของกรุงศรีอยุธยา

พระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองละโว้

หรือ จังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน

 

ถิ่นพระราชวังแห่งที่ ๒ ของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นอีกชัยภูมิที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในช่วงอาณาจักรกรุงศรีอยุธยามีความเจริญรุ่งเรือง หากย้อนกลับไปในรัชสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช

 

      นับจากที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ในปีพุทธศักราช ๒๑๙๙ เพียง ๑๐ ปี พระองค์ก็ได้มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างพระราชวังแห่งใหม่ขึ้น ด้วยมีเหตุและปัจจัยที่ทำให้พระองค์รู้สึกถึงความไม่มั่นคง ประกอบกับเป็นช่วงเวลาที่ฮอลันดาเกิดแข็งข้อทางการค้ากับสยามในเวลานั้น ถึงกรณีกระทำการปิดอ่าวไทย ทำให้การค้าการขายทางเรือเกิดปัญหา ไม่สามารถนำเข้าและส่งสินค้าออกให้มิตรประเทศได้ ยิ่งไปกว่านั้น ยังทรงรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยในพระราชบัลลังก์ ด้วยเหล่าบรรดาขุนนางที่สนับสนุนพระอนุชาต่างพระมารดาก่อการกบฎ ที่รู้จักกันในนามของ กบฎไตรภูวนาท เหล่าขุนนางที่สนับสนุนยังเป็นกลุ่มขุนนางฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฐานอำนาจในราชอาณาจักร นี่จึงเป็นอีกสาเหตุที่ทรงไว้เนื้อเชื่อใจกลุ่มขุนนางชาวต่างชาติ และทรงคิดสร้างพระราชวังแห่งใหม่ขึ้นที่เมืองละโว้ หรือ จังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน

ละโว้ เมืองลพบุรี

          เหตุที่ทรงเลือก ละโว้ เมืองลพบุรี เป็นพระราชวังที่ประทับนั้น เป็นเพราะเมืองลพบุรี มีชัยภูมิที่ดี และมั่นคง มีภูเขาล้อมรอบ ยากแก่การเข้าออก แม้แม่น้ำเจ้าพระยาจะไม่ไหลผ่านโดยตรง แต่ก็มีแม่น้ำลพบุรี เป็นแนวกั้น เมื่อฤดูน้ำหลาก ข้าศึกศัตรูก็มิอาจรุกรานได้ นอกจากนี้ทำเลที่ตั้งยังเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีช้างป่าจำนวนมาก ซึ่งพระองค์ทรงโปรดการคล้องช้าง และเสด็จประพาสป่าเป็นอย่างมาก ทรงมีความชำนาญในการบังคับช้าง จนราชทูตต่างชาติต่างพร้อมใจกันสรรเสริญว่า

 

จะหาใครที่มีความชำนาญช้างม้าเท่าสมเด็จพระนารายณ์ คงไม่มีอีกแล้ว

 

    โดยนัยว่าครั้งหนึ่ง เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จไปประทับที่เมืองลพบุรีนั้น มีพรานจับช้างเถื่อนได้ตัวสมเด็จ พระนารายณ์มหาราชหนึ่งแต่ยังไม่ได้ฝึกหัด เนื่องจากมีฤทธิ์มีเดชมาก พรานจึงไม่กล้านำขึ้นถวายพระองค์ แต่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงตรัสว่า พระองค์จะเป็นผู้ดูแลช้างเถื่อนตัวนี้เอง โดยทรงขึ้นบังคับช้าง และช้างเถื่อนตัวดังกล่าวก็เชื่องในทันที ไม่ทำพยศอีกต่อไป …”   ในพระราชวังแห่งนี้จึงมีโรงเลี้ยงช้างหลวงสร้างขึ้นในบริเวณเขตพระราชฐานอีกด้วย

 เครื่องดื่ม โพรไบโอติก Probiotics-n1
KOMBUCHA BY SCOBY DO IT เครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการหมัก มีสรรพคุณทางยา โดยมี “จุลินทรีย์ โพรไบโอติก Probiotics” ที่เป็นพระเอกของเครื่องดื่มชนิดนี้

      พระปรีชาสามารถของสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช ในการสร้างพระราชวังขึ้นใหม่นี้ นับได้ว่าเป็นวิทยาการที่ล้ำหน้าเป็นอย่างมาก ด้วยทรงมีทักษะทั้งในเชิงศาสตร์และศิลป์ รวมถึงวิชาการเชิงช่าง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ทรงวางแผนการจัดสร้างพระราชวังขึ้นโดยมีคณะบาทหลวง เหล่ามิชชันนารี ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาในเรื่องการออกแบบ ซึ่งในเวลานั้นความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสยามกับทางเปอร์เซีย มีความแน่นแฟ้นเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับมีเสียงร่ำลือว่าพระเจ้ากรุงเปอร์เซีย ได้ส่งราชทูตมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพื่อชวนให้พระองค์หันมานับถืออิสลาม ในครั้งนั้นทางพระเจ้ากรุงเปอร์เซียยังให้ราชทูตอัญเชิญคัมภีร์อัลกุรอ่านมาถวายเช่นกัน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทันสมัย ทรงมีพระราชปรารภถึงการสร้างรูปแบบอาคารให้มีความทันสมัย สง่างาม และเป็นประโยชน์ต่อการประทับและใช้สอย เราจึงจะสังเกตได้ว่า พระราชวัง พระที่นั่งแต่ละองค์ในเขตพระราชฐานมีลักษณะคล้ายกับทางสถาปัตยกรรมแบบเปอร์เซีย มีช่องสำหรับวางประทีป และซุ้มประตูโค้งที่ดูวิจิตร รวมถึงพระที่นั่งบางองค์ยังมีคูน้ำ หรือ ร่องน้ำล้อมรอบ เพื่อให้เกิดความร่มเย็น และมีเสียงธรรมชาติจากสายน้ำที่ไหลผ่านอีกด้วย

พระนารายณ์ราชนิเวศน์        สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการวางแผนที่จะสร้างพระราชวังใหม่แห่งนี้ตั้งแต่ประทับอยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา ด้วยในครั้งที่พระวิสุทธสุนทร หรือ พระยาโกษาธิบดี(ปาน) ไปเป็นราชทูตที่ประเทศฝรั่งเศส พระองค์ได้โปรดให้คณะราชทูตได้ซื้อของประดับตกแต่งจากฝรั่งเศสกลับมาด้วย ด้วยทรงมีพระราชประสงค์จะนำไปตกแต่งที่ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ให้พระราชวังแห่งใหม่มีการประดับกระจกสีสวยงาม และลงรักปิดทองโดยรอบ พื้นทางเดินเป็นศิลาอ่อน นอกจากนี้ยังโปรดให้ขุดสระทั้งในด้านทิศเหนือและทิศใต้ของพระราชวัง ทรงพระราชทานพระนามพระที่นั่งที่เมืองลพบุรีนี้ว่า ดุสิตมหาปราสาท และทรงโปรดให้สร้างพระที่นั่งเพิ่มอีก ๒ องค์ คือ พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ และ พระที่นั่งจันทรพิศาล ปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ อนึ่ง ชื่อ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานให้ เมื่อครั้งพระองค์เสด็จทอดพระเนตร และทรงมีพระราชประสงค์ให้ทำการบูรณะครั้งใหญ่ นับแต่นั้นมา เราจึงรู้จักกันในนามของว่า พระนารายณ์ราชนิเวศน์

   ในพื้นที่เขตพระนารายณ์ราชนิเวศน์ แต่เดิมทีเป็นพื้นที่ดอน เมื่อเข้าฤดูแล้ง จะแห้งแล้งเป็นอย่างมาก พระองค์จึงมีความคิดสร้างอ่างกักเก็บน้ำขนาดย่อยขึ้น และเป็นกำเนิดของระบบการประปาครั้งแรกในประวัติศาสตร์สยามประเทศ โดยพระองค์ได้ทรงให้วิศวกรชาวอิตาลี และฝรั่งเศสทำการสร้างท่อประปาและประตูน้ำ เพื่อลำเลียงน้ำจากห้วยซับเหล็ก หรืออ่างเก็บน้ำซับเหล็ก ที่อยู่ไม่ไกลจากพระราชวัง ถ่ายเทน้ำมาเพื่อการใช้สอยในพระที่นั่งต่างๆ ในพระราชวัง และทรงสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดย่อยในพระราชวังเพิ่มเติมด้วย นับเป็นวิวัฒนาการทางสาธารณูปโภคครั้งแรกของประวัติศาสตร์ของสยามที่น่าทึ่งอย่างที่สุด

พระที่นั่งแต่ละองค์ที่สำคัญ

พระนารายณ์ราชนิเวศน์ นอกจากจะมีพระที่นั่งแต่ละองค์ที่สำคัญ ต่างๆ เช่น

  • หมู่ตึกพระคลังศุภรัตน์หรือหมู่ตึกสิบสองท้องพระคลัง
  • ตึกพระเจ้าเหา
  • หมู่ตึกพระประเทียบ
  • โรงช้างหลวง
  • พระที่นั่งจันทรพิศาล
  • ตึกเลี้ยงรับแขกเมือง
  • พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท
  • พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ฯลฯ
พระที่นั่งเย็น หรือ พระตำหนักไกรสรสีหราช
พระที่นั่งเย็น หรือ พระตำหนักไกรสรสีหราช

สถานที่ศึกษาดาราศาสตร์แห่งแรกของสยาม

        พระที่นั่งเย็น หรือ พระตำหนักไกรสรสีหราช ที่พระองค์โปรดให้สร้างขึ้นบนเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งในบริเวณทะเลชุบศร เพื่อเสด็จประทับแรมในช่วงฤดูร้อน ปัจจุบันเป็นโบราณสถานที่สำคัญอีกแห่งที่ควรเรียนรู้ เพราะนอกจากจะเป็นที่ประทับแรมแล้ว ณ พระที่นั่งแห่งนี้ยังมีความสำคัญต่อวงการประวัติศาสตร์ด้านดาราศาสตร์ของไทย เพราะเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ใช้เป็นที่ศึกษาจันทรุปราคาร่วมกับบาทหลวงเยซูอิตและบุคคลในคณะทูตชุดแรกที่ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14   ส่งมาเจริญสัมพันธไมตรี ดังมีปรากฎเป็นภาพวาดของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชขณะกำลังทรงกล้องยาวเพื่อทอดพระเนตรพระจันทร์ โดยมีขุนนางหมอบกราบอยู่ข้างๆ พระที่นั่งเย็นจึงนับได้ว่าเป็นสถานที่ศึกษาดาราศาสตร์แห่งแรกของสยาม สำหรับทะเลชุบศร มีประวัติศาสตร์บอกเล่ากันมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจว่า น้ำในทะเลสาบแห่งนี้มีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก เมื่อครั้งขอมมีอำนาจเหนือเมืองละโว้ได้สั่งให้สยามส่งน้ำในทะเลสาบแห่งนี้ไปเป็นส่วยทุกปี เพื่อให้กษัตริย์ขอมได้ดื่มกินเป็นสิริมงคล

ตึกเลี้ยงรับแขกเมือง

       ความหรูหรา โอ่อ่า และทันสมัยของ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ มีหลักฐานจากการบันทึกของบาทหลวง และราชทูตต่างชาติที่เข้ามาในเจริญสัมพันธไมตรีว่ามีความงดงาม วิจิตรเป็นอย่างมาก ดังที่ นิโกลาส์ แชร์ นักเดินทางชาวฝรั่งเศสที่ติดตามคณะเผยแพร่ศาสนาเข้ามาในสยามในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และราชทูตฝรั่งเศส เดอ ลาลูแบร์ ได้บันทึกไว้ในจดหมายเหตุ รวมถึงการต้อนรับอย่างเอิกเกริก มีอาหาร คาวหวานนานาชนิด อาคารต้อนรับพระราชอาคันตุกะ ตกแต่งไปด้วยประทีปโดยรอบ แสงจากดวงประทีปวิจิตรงดงามราวสรวงสวรรค์ มีน้ำพุพวยพุ่งกว่า ๒๐ จุดโดยรอบอาคาร เป็นต้น เป็นงานเลี้ยงที่เหล่าราชทูตต่างประทับใจและชื่นชมในอัธยาศัยไมตรี และความเป็นกันเองโดยไม่ถือพระองค์เลย

ดังที่ นิโกลาส์ แชร์ นักเดินทางชาวฝรั่งเศสที่ติดตามคณะเผยแพร่ศาสนาเข้ามาในสยามในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

        พระนารายณ์ราชนิเวศน์ มีความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เป็นศิลปะ สถาปัตยกรรมที่มีความผสมผสานของไทยและตะวันตก เป็นครั้งแรก เนื่องด้วยไม่เคยมีปรากฎในการสร้างงานสถาปัตยกรรมรูปแบบนี้มาก่อน หากได้ไปเยือนพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เราจะสัมผัสถึงวิทยาการที่ทันสมัยยิ่ง ซึ่งใครจะคิดว่า เมื่อ เกือบ ๔๐๐ ปีก่อนนั้น ประเทศไทยของเรามีระบบประปา มีอ่างเก็บน้ำ มีอาคารพระที่นั่งที่สร้างขึ้นโดยไม่มีเสาค้ำยัน มีท่อลำเลียงที่ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี รวมถึงยังมีสิ่งประดับตกแต่ง อาทิ เช่น น้ำพุ เขามอ น้ำตก ในเขตพระราชอุทยาน รวมถึงพระตำหนักที่ประทับยังมีอ่างอาบน้ำขนาดใหญ่ที่ทำจากหินอ่อน สำหรับเป็นที่สรงน้ำของพระองค์อีกด้วย

การท่องเที่ยวโบราณสถาน

       การท่องเที่ยวโบราณสถานในแต่ละแห่ง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาถึงประวัติที่มาว่าเป็นอย่างไร มีรูปแบบศิลปกรรม สถาปัตยกรรมอย่างไร และที่สำคัญ คือ จินตนการพร้อมกับข้อเท็จจริงที่ได้ศึกษามา เหล่านี้จะทำให้ทุกคนได้เห็นภาพชัดขึ้น และได้รับรู้ว่า กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรของไทยแต่โบราณ มีความเจริญรุ่งเรืองเพียงใด ความเรืองรอง ดุจเทพสร้าง เป็นที่มาของชื่ออาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเมื่อเรียนรู้แล้ว ควรที่ทุกคนต้องช่วยกันดูแลรักษาให้โบราณสถานของไทยทุกแห่งยังคงอยู่ และให้เรียนรู้ว่าชนชาติไทยมีความร่ำรวยทางวัฒนธรรม ประเพณี ศิลปะ มากเพียงใด

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ จ.ลพบุรี

เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

หากคุณผู้อ่านอยากรู้จักพระราชวังแห่งนี้ว่ามีดีอย่างที่กล่าวอ้างมาหรือไม่ มีอะไรอื่นๆที่น่าสนใจอีกบ้าง เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีความรุ่งเรืองอย่างไร ข้าพเจ้าขอแนะนำว่าควรไปเยือนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ จ.ลพบุรี ที่นี่เปิดให้ทุกท่านได้สัมผัสความงาม เห็นความเจริญรุ่งเรือง และวิทยาการอันล้ำค่าเมื่อ เกือบ ๔๐๐ ปีก่อน ทุกวันพุธอาทิตย์ เวลา 8.30-16.30 สอบถามเส้นทางเพิ่มเติมได้ที่ 036 411458

 

Reference

Facebook:  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์

Facebook:  งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ภาพมุมสูง: คุณ GameLopburi, www.skyscrapercity.com/showthread.php?p=129598970

ประชาสัมพันธ์

เครื่องดื่มชาหมัก kombucha by scoby do it

คุณ Ratajit Jitara: https://www.flickr.com/photos/j9i9t/

www.lampangth.com

หนังสือพงศาวดาร: คำให้การชาวกรุงเก่า

https://th.wikipedia.org/wiki/

หนังสือ จินดามณี

 



Cultures of Fermented 
by Scoby Doit
Previous ArticleNext Article