9Genuine Craftsman, Bag Gallery & Fashion

แนะนำ วิธีการสร้างเว็บไซด์ของตัวเอง แบบฉบับรวบรัด ตอนที่ 1 รู้จักเว็บไซด์

  

สวัสดีครับ … บทความนี้ เป็นภาคต่อของ ของบทความ  มีแบรนด์กระเป๋าของตัวเองทั้งที
แต่ไม่มี เว็บไซด์ ของตัวเอง ได้ไง ?


“มีแบรนด์กระเป๋าของตัวเองทั้งที แต่ไม่มี Brand Official Website ได้ไง ?”

หลายท่านอาจจะละเลยสิ่งนี้ไปครับ อาจเพราะยังมองไม่เห็นความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องให้ความสำคัญ กับเว็บไซด์ของตัวเอง แต่ยังไม่สายครับ นำแนวคิดนี้มาปัดฝุ่นแล้วพินิจพิจารณากันใหม่ ก็ยังไม่สายเกินไป

หากโลกของ offline สิ่งจำเป็นของธุรกิจ คือ หน้าร้าน แต่โลกของ online สิ่งจำเป็นของธุรกิจคือ เว็บไซด์ อี คอมเมิร์ซ ( www. Brand .com ) 

 


GQ กางเกงชิโน ผ้ายืด สีแดง ใส่สบาย น้ำหนักเบา สะท้อนน้ำ เหมาะกับอากาศร้อน สบายจริงๆ สบายจัดๆ
GQ กางเกงชิโน >> คลิ๊ก



 

             …..   อ่านต่อ  >>>


 

       ซึ่ง 9Genuine ได้เขียนแนะนำไว้ ถึงความสำคัญของ การมี Website (เว็บไซด์)  เป็นของตนเอง และบทความต่อไปนี้ ผมจะมาปูพื้นฐานเบื้องต้น ได้รู้จักเว็บไซด์ ในฉบับรวบรัด แบบเข้าใจไม่ยากจนเกินไป ครับ

 

เริ่มต้นบนพื้นฐานของความเข้าใจ แบบง่ายๆกันก่อนครับ ว่า

องค์ประกอบของเว็บไซด์ มีอะไรบ้าง

หากจะเปรียบเทียบให้เข้าใจกันแบบง่ายสุด

ผมจะเปรียบเทียบ คือ

 

“เว็บไซด์”

ก็เหมือนกับ

“บ้าน”

เว็บไซด์ howto

 

บ้านต้องมีอะไรบ้าง ?

 

1 เลขที่ของบ้าน

2 ที่ตั้งของบ้าน

3 โครงสร้างของบ้าน

 

เว็บไซด์ ต้องมีอะไร ?

1 Domain Name ( โดเมนเนม)

2 WebHosting ( เว็บโฮสติ้ง )

3 CMS ( Content Management System )

เว็บไซด์

 

เอาล่ะ …..   ทั้งบ้าน และ เว็บไซด์ มีองค์ประกอบ 3 อย่าง เท่าๆกัน เพื่อทำความเข้าใจง่ายๆ คุณสามารถจับโยง ทั้ง 3 ข้อของบ้าน และ เว็บไซด์ เข้าด้วยกันเลย ก็ได้ความหมายและความเข้าใจดังนี้

โดเมนเนม

1 >   บ้านเลขที่ หรือ Domain name

     ก็คือความหมายเดียวกันครับ เวลาบุรุษไปรณีย์จะมาส่งจดหมายให้คุณ ก็ต้องใช้บ้านเลขที่สื่อสารกัน เช่นกันครับ เวลาที่ลูกค้าจะมาเยี่ยมเว็บไซด์ของคุณ ก็ใช้ Domain name สื่อสารกันครับ

บ้านเลขที่ = 999/120 << นี่คือรูปแบบหนึ่งของเลขที่บ้าน

Domain name = www.Brandของคุณ.com << นี่คือรูปแบบหนึ่งของ โดเมนเนม

 

เว็บโฮสติ้ง

2 > ที่ตั้งของบ้าน หรือ WebHosting ( เว็บโฮสติ้ง )

       บ้านต้องมีที่ตั้งครับ ไม่ว่าบ้านจะเป็นรูปแบบ บ้านเดี่ยว , ทาวน์เฮ้าส์หรือทาวโฮม หรือคอนโดมิเนียม ก็ย่อมต้องมีที่ตั้ง คือ สถานที่ เช่นเดียวกัน เว็บไซด์ก็ต้องการสถานที่เช่นเดียวกับที่ตั้งของบ้าน ซึ่งก็มีปัจจัยเดียวกันคือ ขนาดของที่ตั้ง และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่ต่างกันออกไป

 

       บ้าน หรือเว็บไซด์ ไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ ก็ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกแตกต่างกันไป บ้านเล็กๆ มีคนไปมาหาสู่ไม่มาก ก็อาจจะเลือก คอนโด , หรือ ทาวน์เฮ้าส์ เล็กๆ หากบ้านหรือเว็บไซด์ขนาดใหญ่ ที่มีคนเข้าออกมากๆ ก็ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกที่มากตามไปด้วย เช่น มีถนนทางเข้าที่กว้าง มีที่จอดรถเยอะๆ มีห้องรับแขกหลายๆ ห้อง ก็ต้องเลือกบ้านเดี่ยว ที่มีขนาดใหญ่ และมีพื้นที่ใช้สอยมากหน่อย

ดังนั้น การเลือกของ Webhosting ก็คือ บริบทเดียวกับการเลือกที่ตั้งของบ้าน บ้านเล็กหรือบ้านใหญ่ ก็เลือก ขนาด ความจุของ Webhosting ให้เหมาะสม โดยจะพิจารณาเลือกขนาดอย่างไร ตอนต่อไปจะกล่าวถึงครับ

 

3>  โครงสร้างของบ้าน หรือ CMS 

   เมื่อเรามีบ้านเลขที่ หรือโดเมนเนมแล้ว มีที่ตั้งของบ้าน หรือ Webhosting แล้ว แต่บ้านหรือWebsite ก็ยังไม่เป็นรูปธรรมครับ สิ่งสำคัญท้ายสุดคือ ตัวบ้าน หรือ CMS ( Content Management System ) นั่นเอง ในข้อนี้ จะมีรายละเอียดมากสักหน่อยนึง ในบทนี้ จะพยายามรวบรัดให้เข้าใจง่าย ก่อนนะครับ

 

CMS คืออะไร ?

Content management system แปลกันตรงตัวเลยครับ ว่า เป็น ระบบจัดการเนื้อหาเว็บไซด์ หรือหากเปรียบกับบ้าน ก็คือ โครงสร้างของบ้าน ที่ประกอบไปด้วย ห้องต่างๆ เช่น ห้องรับแขก , ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น , ห้องอ่านหนังสือ , ห้องครัว , ห้องน้ำ , สวนหน้าบ้าน , ลานจอดรถ อะไรเทือกนั้นแหละครับ 

 

HOWTO-WEB-CMS

 

 

CMS มีหลากหลายรูปแบบ ให้เลือกใช้ เลือกอะไรดีล่ะ ?

เลือกตามวัตถุประสงค์… ตามแต่เจตนาในการใช้งานครับ   แม้ CMS  จะมีหลากหลายรูปแบบชวนให้ปวดหัวเวลาต้องเลือกใช้ เราอาจจะแบ่งกลุ่มกว้างๆของ CMS เสียก่อนครับ โดยแบ่ง CMS ออกไปเป็นกลุ่มหลักๆ ดังนี้

 

CMS ก็เหมือนรูปแบบของบ้าน  เราต้องการให้บ้านเรามีหน้าตาอย่างไร มีวัตถุประสงค์ใช้งานแบบไหน CMS ในแต่ละแบบมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการใช้งาน

 

กลุ่ม 1 ที่เหมาะสำหรับเขียนบทความ , บล็อก ( Blog)

      หรือสำหรับหน้าแสดงข้อมูลทั่วๆไป เช่น WordPress , Blogger , Joomla , Concrete5

กลุ่ม 2 ที่เหมาะสำหรับซื้อขายสินค้า e-commerce

ประชาสัมพันธ์

 


GQ กางเกงชิโน ผ้ายืด สีแดง ใส่สบาย น้ำหนักเบา สะท้อนน้ำ เหมาะกับอากาศร้อน สบายจริงๆ สบายจัดๆ
GQ กางเกงชิโน >> คลิ๊ก



 

      มีระบบตะกร้าสั่งซื้อ เช่น Opencart , OS-Commerc , Prestashop , ecwid, megento , Shopify , WordPress (woo-commerce) เป็นต้น

 

ซึ่งหากเราต้องการทำเว็บไซด์สำหรับที่จะนำเสนอสินค้า และสามารถขายสินค้าได้ด้วย ในระบบตะกร้าสั่งซื้อ โดยส่วนตัวผมจะแนะนำอยู่ 2 CMS ครับ คือ Opencart และ WordPress (+Woo commerce ) …. ด้วยเหตุผลสุดคลาสสิค คือ เพราะมันง่ายที่สุด ในบรรดาหลากหลายแบบของ CMS ทั้งหมดทั้งมวลแล้ว ….

แต่ก็มักจะมีหลายคนทักท้วงว่า มีเว็บสำเร็จรูปของบางยี่ห้อในประเทศไทย ( ไม่ขอเอ่ยชื่อ ล่ะกัน มีไม่กี่เจ้าหรอก) ใช้ง่ายกว่านะ …. คือ ผมก็ไม่เถียงนะครับ แต่ผมเชื่อว่า เลือกที่ยากกว่าสักนิดเดียวเอง เพื่อแลกกับความคุ้มค่า ในอนาคตแบบยาวๆ จะดีกว่าครับ

 

ขอจบบทความ  “วิธีการสร้างเว็บไซด์ของตัวเอง แบบฉบับรวบรัด ตอนที่ 1 รู้จักเว็บไซด์ ”

              เอาไว้แค่นี้ก่อนนะครับ  9Genuine เชื่อว่า หลายท่านเริ่มจะพอเข้าใจและรู้จักเว็บไซด์ได้ดีขึ้น ไม่มากก็น้อยครับ   และในตอนที่ 2  แอดมินจะลงลึกในรายละเอียดเพิ่มเติมองค์ประกอบสำคัญของเว็บไซด์ แบบละเอียด และเข้าใจง่ายๆ เช่น  จะจดทะเบียนโดเมนเนม (บ้านเลขที่) ที่ไหน อย่างไร ?  มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ?   เราจะเลือก webhosting ( ที่ตั้งของบ้าน) ที่ไหน อย่างไร ?   ราคาเท่าไหร่ ?   เราจะเลือกแบบบ้าน ( CMS) แบบไหนดี ทำอย่างไร ยากมั้ย ? แพงมั้ย ??   เป็นต้น 

 

       รอติดตามในตอนที่ 2  เริ่มต้นทำสร้างเว็บไซด์ 

 

 



Cultures of Fermented 
by Scoby Doit
Previous ArticleNext Article