9Genuine Craftsman, miscellaneous, Uncategorized

แนะนำ วิธีการสร้างเว็บไซด์ของตัวเอง ฉบับรวบรัด ตอนที่ 3 เลือก CMS ?

      มาถึงตอนสุดท้าย ของบทความ  แนะนำวิธีการสร้างเว็บไซด์เป็นของตนเอง ในตอนที่ 3 การเลือกใช้ CMS ของเว็บไซด์ ซึ่งผมจะเน้น WordPress และ Opencart ครับ   โดยทั้ง 3 ตอนที่ผ่านมานี้ เป็นบทความ ฉบับรวบรัด เหมาะสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ โดยในตอนที่ 1 เป็นการอธิบายส่วนประกอบของเว็บไซด์ ในแบบที่เข้าใจง่ายๆ และในตอนที่ 2 แนะนำการเลือกจดโดเมนเนม และเว็บโฮสติ้ง สำหรับในตอนที่ 3 นี้ เราจะมาเลือก CMS กันครับ

มาทำความรู้จัก CMS กันก่อน ว่ามันคืออะไร

      CMS ย่อมาจาก Content management system หมายถึง ระบบจัดการเนื้อหาเว็บไซด์ นั่นเองครับ สั้นๆแค่นี้แหละ CMS คือ หนึ่งในสามหัวใจสำคัญ ขององค์ประกอบการทำเว็บไซด์ครับ อย่างที่ผมเปรียบเทียบไว้ในตอนที่ 1 แล้วว่า เว็บไซด์ ก็เหมือนกับบ้าน คือ โดเมนเนม เปรียบเหมือน บ้านเลขที่ , เว็บโฮสติ้ง เปรียบเหมือน ที่ดิน/ที่ตั้งของบ้าน และ CMS นี่แหละครับ คือ ตัวของบ้าน นั่นเอง เราต้องการให้บ้านเราหน้าตาเป็นแบบไหน ก็ CMS นี่แหละครับ

เครื่องดื่มชาหมัก kombucha by scoby do it

เลือก CMS อย่างไร ?

    CMS สำหรับการทำเว็บไซด์ มีมากมายหลากหลายชนิดให้เลือกครับ คือ ถ้าจะให้ไล่เลียงกันตรงนี้ เกรงว่าจะยืดยาว ชวนปวดหัว ซึ่งในแต่ละชนิดก็มีจุดประสงค์ที่ต่างกัน แต่สำหรับการเลือกในบริบทของบทความนี้ ผมจะมุ่งเน้นในส่วนที่ใช้งานเป็น Website E-commerce ครับ โดยไม่พล่ามกันให้ยืดยาว CMS ที่เหมาะสำหรับการทำเว็บไซด์ e-commerce ที่ผมจะแนะนำนี้ คือ

WordPress ( WooCommerce )   และ   OpenCart

    เหตุเพราะ 2 สิ่งนี้ คือ ใช้งานง่าย , มีความสามารถสูง , ยืดหยุ่น , มีอนาคต และแน่นอนครับ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่อง Code ภาษาคอมพิวเตอร์ หรือเป็น โปรแกรมเมอณื  ใดๆเลย คุณก็สามารถใช้งาน WordPress และ Opencart ได้ครับ ขอเพียงแค่คุณใช้งานคอมพิวเตอร์เป็น ใช้ Microsoft word ได้ เท่านี้ ก็เป็นพื้นฐานที่ดี สามารถเริ่มต้น “เรียนรู้” ต่อยอด การใช้งาน WordPress และ opencart ได้ไม่ยากแล้วล่ะครับ

 

คราวนี้ เลือกอะไรดีล่ะ แล้วจะเลือกอย่างไร ?

   คุณผู้อ่าน สามารถแยกแยะออกมั้ยครับ ว่า ภาพตัวอย่างเว็บไซด์ A และ B เว็บไหนใช้ CMS อะไร ระหว่าง wordpress woocommerce และ Opencart ครับ ?

 

เฉลย !!!

  • เว็บ A ใช้ WordPress ( woocommerce)
  • เว็บ B ใช้ Opencart

ท่านผู้อ่าน เห็นความแตกต่างมั้ยครับ ?  

สำหรับผมนั้น  ผมมองไม่เห็นเลยครับ  ผมแยกไม่ออกจริงๆ  ผมกำลังจะบอกว่า หากคุณเลือก CMS โดยใช้หน้าตาของเว็บไซด์เป็นตัวตัดสิน นั่นคือวิธีที่ไม่ถูกต้องครับ เพราะ ทั้ง 2 cms นี้ ในรูปแบบของ e-commerce แล้ว หน้าตา หรือ layout แทบจะแยกไม่ออกเลย คือ มันสามารถทำออกมาได้เหมือนๆกันนั่นเอง   มาเจาะให้ลึกลงไปอีกหน่อย ระหว่าง WordPress (woocommerce) และ Opencart

เริ่มที่ WordPress (woocommerce) < เริ่มสังเกตุและสงสัยมั้ยครับ ทำไมชื่อยาวจัง …

cms wordpressWordPress   ถูกสร้างขึ้นมา 17 ปี แล้วครับ ( เริ่มก่อตั้งปี 2003) เพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการทำเว็บบล็อคบทความ ปัจจุบันได้รับความนิยมเพิ่มมากใช้ มีการใช้ทำ เว็บข่าว , เว็บวาไรตี้ ทั่วไป สำนักข่าวระดับแนวหน้า ทั้งในและต่างประเทศ ส่วนใหญ่ ก็ใช้ WordPress ครับ และสำหรับ Woocommerce ที่มาต่อพ่วงท้าย ที่คุณอาจะตั้งข้อสงสัย ทำไมชื่อยาวจัง Woocommerce ก่อตั้งเมื่อปี 2008 นี่เอง มันก็คือ ปลั๊กอิน หรือส่วนเสริม ระบบตะกร้า สำหรับการซื้อสินค้า

หากเทียบกับ Opencart หรือ CMS อื่นๆ WordPress จะได้รับความนิยมกว้างขวางกว่าครับ เหตุผล เพราะ CMS ที่ค่อนข้างยืดหยุ่น ปรับแต่งอะไรก็สามารถทำได้ไม่ยากนัก และที่โดดเด่นมากที่สุดคือ WordPress สามารถรองรับ การใช้ ปลั๊กอิน หรือส่วนเสริม มากมาย ให้เลือกใช้เพิ่มเติมได้ง่ายอีกด้วย ทำให้ WordPress ได้รับความนิยมนั่นเอง สำหรับเว็บไซด์ www.bagindesign.com ที่คุณกำลังอ่านอยู่นี้ ก็ใช้ CMS WordPress ครับ ( แต่ไม่มี woocommerce เพราะเว็บนี้ ไม่มีระบบตะกร้า และขายสินค้า )

สำหรับเว็บที่ผมใช้ WordPress + woocommerce ก็จะเป็นที่นี่ครับ https://www.9genuine.com/ ผมเพิ่งจะลง plugin เพิ่มไม่นานนี่เอง ก่อนหน้านี้ไม่มีครับ เพราะวัตถุประสงค์ เว็บไม่ได้ขายสินค้า แต่เป็นบริการ ผมก็ลองๆ ติดตั้ง Woocommerce เพิ่มลงไป ตั้งค่าโน้นนี่นั่น ลงสินค้า 3-4 รายการ ก็จะประมาณนี้ครับ https://www.9genuine.com/shop/ อาจจะยังไม่สวยงามเท่าไหร่ เพราะเป็น woocommerce เดิมๆ ยังไม่ได้ปรับแต่งอะไรเพิ่มเลย

cms wordpressOpencart เกิดมาเป็น Website e-commerce โดยเฉพาะครับ ก่อตั้งมาเมื่อปี 2005 อาจะเป็นเพราะ e-commerce ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก ในช่วงเวลาดังกล่าว ในประเทศไทย จึงไม่ค่อยนิยมมากเท่ากับ CMS ยี่ห้ออื่นๆ หรือแม้กระทั่ง Woocommerce ที่ ก่อตั้งมาที่หลังเพียงเล็กน้อย กลับมีคนใช้งานมากกว่า ครับ

สำหรับเว็บของผมที่ใช้ CMS Opencart คือ www.vanchada.com ระบบการทำงาน เป็นเว็บ e-commerce  ผมมองว่า ครบถ้วนสมบูรณ์แบบครับ ภาพรวมของการใช้งาน ไม่ยากจนเกินไป บางทีอาจจะง่ายกว่า wordpress ด้วยซ้ำไป ครับ ระบบ SEO ก็ไม่เป็นรอง wordpress ครับ เพราะมีเครื่องไม้เครื่องมือช่วย ไม่แพ้กันครับ

จากประสบการณ์ การใช้งานด้วยตัวเอง

ทั้ง WordPress Woocommerce และ Opencart ผมคิดว่า opencart จะตอบโจทย์สำหรับเว็บไซด์ระบบตะกร้าได้ดี ด้วยเครื่องมือที่มีให้พร้อมสรรพอยู่แล้วตั้งแต่ต้น ไม่ต้องโหลดส่วนเสริมใดๆมาเพิ่ม ให้เว็บหนัก opencart จึงเบา และโหลดเร็ว สำหรับ WordPress + woo  นั้น ผมคิดว่า บนความที่มันยืดหยุ่นมาก มีปลั๊กอินให้เลือกใช้มากมาย  ผมกลับมองว่า ในทางอ้อมแล้ว มันทำให้เว็บหนัก และทำให้แสดงผลช้า เพราะปลั๊กอินตัวอื่นๆที่จำเป็น ก็ต้องโหลดมาใช้มากอยู่แล้ว สำหรับการตั้งค่าหลายๆอย่าง WordPress จะมีความจุกจิกมากกว่า opencart ครับเรื่อง ความแรง ของ SEO ( Search Engine Optimization) ผมคิดว่า ไม่มีใครกินใคร ครับ มีโอกาสติดหน้าค้นหา google หน้าแรกได้ ไม่ยาก หากจัดการเนื้อหา และโครงสร้างเว็บให้ดี ๆ

ผมมีภาพตัวอย่าง ระบบหลังร้าน ที่เราจะต้องใช้บริหารจัดการเว็บไซด์ให้ได้ชมกันครับ

ระบบจัดการหลังร้าน Opencart

cms wordpress และ opencart

ภาพตัวอย่าง ระบบบริหารจัดการหลังร้าน หน้าตาจะประมาณนี้ครับ แทบเครื่องมือ จะอยู่ด้านขวา เมนูหลักต่างๆ จะเหมือนกันหมด ยกเว้น เมนูสุดท้าย จะเป็นหน้าที่ใช้สำหรับบริหารจัดการลึกลงไปอีก แต่ตามเจ้าของ Theme ที่เราซื้อมาน่ะครับ ของผม ใช้ JOURNAL ครับ

ระบบจัดการหลังร้าน  WordPress

cms wordpress

    ภาพตัวอย่าง ระบบบริหารจัดการหลังร้าน ของ WordPress ครับ ซึ่งอันนี้ ผมแคปภาพมาไม่หมดนะครับ ยังมีเมนูท้ายๆอีกนิดหน่อย ดูแล้ว มีความซับซ้อนมากกว่า opencart อย่างเห็นได้ชัด เพราะมันทำได้หลายๆอย่าง มันก็ต้องมี option เยอะ เป็นธรรมดาครับ

     ทั้ง opencart และ wordpress ทั้งสอง เป็น Open Source  ฟรี ครับ เมื่อคุณเช่าโฮสติ้งแล้ว สามารถโหลดใช้ได้จากในระบบได้เลย   แต่ ….. หน้าตาเว็บพื้นฐาน มันก็จะดูไม่สวยงามนะครับ มันต้องผ่านการปรับแต่โน้นนี่นั่น อีกมากอยู่ ( อ้าววว ไหนว่าทำง่ายล่ะ )   เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไข ของผู้ประกอบการรายใหม่ ที่ต้องการสร้างเว็บไซด์ของตัวเอง ได้แบบง่ายๆ ก็ซื้อ ธีมสำเร็จรูป  เลยครับ ราคาไม่แพงเลย คุณไม่ต้องไปเสียเวลา ปรับแต่งโครงสร้างอะไรให้มากมาย สนนราคาธีมสำเร็จรูป มีตั้งแต่ ราคา 0 บาท จนถึง หลัก 5000 บาท เลยก็มี ครับ …. แต่ เอ …. ทำไมใช้คำว่า 0 บาท ทำไมไม่ใช้คำว่า ฟรี ล่ะ เพราะของฟรี ไม่มีในโลกครับ

    โดยส่วนใหญ่ ธีมฟรี มักจะไม่มีฟรีอย่างเดียว อาจจะมีชื่อ และ ลิ้งค์ อยู่ที่ท้ายเว็บติดทุกหน้า ( หากรับได้ ก็โอเคไม่ว่ากัน )   แต่บางทีหนักหน่อย อาจจะมีไวรัส หรืออะไรแอบแฝงอยู่ใน Code แห่งใดแห่งหนึ่ง ก็เป็นได้ ค่อนข้างอันตรายนะครับ หากมีสิ่งไม่พึงประสงค์อยู่ในเว็บของเรา ดังนั้น ซื้อจากผู้ให้บริการเถอะครับ ราคาไม่แพงเลย เอาแบบ สวยๆ หรู ราคาก็แค่ 1300-2500 บาท ก็เริ่ดแล้วล่ะครับ

ซื้อ Theme ที่ไหนล่ะ

     แหล่งซื้อ ธีมสำเร็จรูป คือ https://themeforest.net/ เป็นเว็บของต่างประเทศนะครับ มีธีมให้เลือกซื้อทุกยี่ห้อ CMS เลย ก่อนตัดสินใจซื้อธีมไหน เราอาจจะต้องสังเกตุให้ดีนะครับ ดูว่า ธีมนี้สำหรับ WordPress หรือ opencart หรือชนิดอื่นๆ  เพราะอย่างที่ผมวางภาพตัวอย่างเว็บไซด์ให้ดูก่อนหน้านี้ แยกไม่ออกเลยครับ ว่าอันไหน ใช้ CMS อะไร

    ธีมสำเร็จรูป จะช่วยย่นระยะเวลาให้คุณได้มากทีเดียวครับ การเลือกธีมที่ตรงกับ layout ที่เหมาะสม อาจจะปรับเล็กๆน้อยๆ และแค่คุณใส่ภาพสินค้าของคุณแทนลงไป ปรับใส่ข้อมูลที่คุณต้องการ ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องไปยุ่งยากจัดการโครงสร้างให้วุ่นวาย

 

ประชาสัมพันธ์


 

สรุปส่งท้าย

     แอดมินเชื่อว่า หากคุณอ่านบทความ “แนะนำวิธีการสร้างเว็บไซด์ของตัวเอง ฉบับรวบรัด” ครบทั้ง 3 ตอน แล้ว ผมเชื่อว่า คุณน่าจะรู้จักกระบวนการของเว็บไซด์มากขึ้น อย่างน้อยก็สามารถรู้ส่วนประกอบที่สำคัญของเว็บไซด์ รวมถึงวิธีการเลือก Cms ที่เหมาะสมกับการใช้งานของคุณได้ แต่ทั้งนี้ ยังมีขั้นตอนของการใช้งานในส่วนของ โฮสติ้ง และการโหลดโปรแกรม ตั้งค่าระบบอื่นๆ ก่อนจะถึงขั้นตอนใส่เนื้อหาในเว็บไซด์ของเราใน CMS ผมมีบริการดีๆ ที่จะช่วยย่นย่อ กระบวนการขั้นตอนที่น่าปวดหัว และสามารถทำให้คุณเริ่มจัดการเว็บไซด์ของคุณให้ราบรื่น และรวดเร็วได้

ส่วนนี้จะเป็น บริการติดตั้งระบบร้านค้า ของ ireallyhost ครับ ซึ่งบริการนี้ จะเป็นแพคเก็จบริการครับ

ตัวอย่างแพคเก็จ CMS-59

  • ฟรี 1 ธีมเว็บไซต์ลิขสิทธิ์ จาก themeforest.net
  • ฟรี จดโดเมนเนม 1 ชื่อ
  • ฟรี ค่าติดตั้ง มูลค่า 2500 บาท
  • พื้นที่เก็บข้อมูล 10 GB
  • อีเมล์ไม่จำกัด
  • ฐานข้อมูลไม่จำกัด
  • ปีแรก 5,900 บาท, ปีต่อไป 2,000 บาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่   https://www.ireallyhost.com/ecommerce

 

 



Cultures of Fermented 
by Scoby Doit
Previous ArticleNext Article