Bag Gallery & Fashion, Thai Book Review แนะนำหนังสือ, Uncategorized

ตามรอยพุทธศาสนา ผ่านพุทธศิลป์ ศาสนวัตถุที่ล้ำค่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

         พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เปิดห้องนิทรรศการใหม่ในหมู่พระวิมาน ทั้ง ๔ ห้อง ได้แก่ : ห้องผ้าในราชสำนักสยาม, ห้องดนตรีการแสดงการละเล่น, ห้องศาสตราวุธ และห้องโลหะยศเจ้านายวมไปถึงพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอนุชาธิราชในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระราชอิสริยยศเทียบเท่าพระเจ้าแผ่นดิน เคียงคู่รัชกาลที่ ๔

       แต่บทความนี้ จะยังไม่กล่าวถึง ห้องนิทรรศการที่เปิดใหม่นะคะ ขอยกยอดไปไว้ในบทความต่อไป โดย ผู้เขียน มีอีกนิทรรศการแห่งหนึ่ง ที่จะแนะนำ โดยจัดแสดงอยู่ ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เป็นนิทรรศการที่น่าสนใจไม่น้อยเลย และหาชมได้ยากยิ่งในปัจจุบัน จึงใคร่ขออยากเชิญทุกท่านได้ไปเยือนและได้ชมศาสนวัตถุที่ล้ำค่า มีคุณค่าต่อจิตใจ และทำให้เราได้เรียนรู้พุทธศาสนา รูปแบบ ต้นกำเนิด ที่มา และลักษณะของพระพุทธรูปที่หาชมได้ยากยิ่ง ในหัวข้อนิทรรศการที่มืชื่อว่า

พุทธปฏิมาวิจักษณ์จากภารตะสู่สุวรรณภูมิ

        เมื่อพูดถึงประเทศอินเดีย เราจะนึกถึงต้นกำเนิดของศาสนาที่สำคัญหลายๆ ศาสนา และหนึ่งในศาสนาที่เป็นที่รู้จักกันของคนทั้งโลก ก็มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย นั่นคือ ศาสนาพุทธ เนื่องในวโรกาสครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐอินเดีย ๗๐ ปี และวาระครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูต ๒๕ ปี ระหว่างสาธารณรัฐอินเดียกับกลุ่มประเทศอาเซียน ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ทางกรมศิลปากรจึงได้จัดนิทรรศการ เรื่อง พุทธปฏิมาวิจักษณ์จากภารตะสู่สุวรรณภูมิ”   เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่ครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐอินเดีย ด้วยการนำโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางของศาสนาพุทธมาสู่สุวรรณภูมิ จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และคลังกลาง ของประเทศไทยรวมจำนวนทั้งสิ้น ๖๒ รายการ รวมถึงศิลปะสะสมของเอกชน อีก ๒ รายการ นำมารวบรวมและจัดแสดง

โดยแบ่งโบราณวัตถุออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่

  • โบราณวัตถุศิลปะอินเดีย
  • โบราณวัตถุศิลปะไทยที่ได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดีย
  • โบราณวัตถุศิลปะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดีย อาทิ ธรรมจักรและกวางหมอบ ศิลปะอินเดียแบบคันธาระ พุทธศตวรรษที่ ๖ ๑๑ , พระพุทธรูปปางประทานอภัย ศิลปะอินเดียแบบคันธาระ พุทธศตวรรษที่ ๖ ๑๑ , พระพุทธรูปเสด็จจากดาวดึงส์ ศิลปะอินเดียแบบปาละ พุทธศตวรรษที่ ๑๔
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ธรรมจักรและกวางหมอบ ศิลปะอินเดียแบบคันธาระ พุทธศตวรรษที่ ๖ – ๑๑

 


GQ กางเกงชิโน ผ้ายืด สีแดง ใส่สบาย น้ำหนักเบา สะท้อนน้ำ เหมาะกับอากาศร้อน สบายจริงๆ สบายจัดๆ
GQ กางเกงชิโน >> คลิ๊ก



 

           โบราณวัตถุที่น่าชมในงานนิทรรศการครั้งนี้ มีหลายชิ้นด้วยกันค่ะ แต่ละชิ้นมีคุณค่าแบบที่ประเมินไม่ได้เลย โดยเฉพาะชิ้นงานโบราณวัตถุตั้งแต่สมัยทวารวดี เช่น แท่นเสาธรรมจักรมีจารึก โบราณวัตถุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ ซึ่งพบที่อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม, ภาพสลักพระพุทธเจ้าทรงแสดงเทศนาธรรม ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นตอนปฐมเทศนา พบที่วัดไทร จ.นครปฐม เช่นกัน งานแกะสลักหินชิ้นนี้มีความละเอียด งดงามและประณีตมากค่ะ

ภาพสลักพระพุทธเจ้าทรงแสดงเทศนาธรรม

         การขุดค้บพบโบราณวัตถุสมัยทวราวดี ที่จ.นครปฐม เป็นจำนวนมากนั้น เนื่องจากในอดีต นครปฐมคือศูนย์กลางแห่ง อาณาจักรทวารวดี ยุคความรุ่งเรืองของพุทธศาสนา รูปแบบงานโบราณวัตถุที่พบเจอจึงเป็นลักษณะของการแกะสลักหินมากกว่าการประดับตกแต่งด้วยอัญมณี เช่นในยุคหลังจากนี้มา หรือการค้นพบรอยพระพุทธบาท ศิลปะสุโขทัย ที่มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งพบเจอที่วัดเขานางนอง จ.กำแพงเพชร ลักษณะของรอยพระพุทธบาทเป็นหินชนวน ที่มีขนาดความยาว ๑๗๓ ซม. และกว้างถึง ๑๑๓.๕ ซม. บนรอยพระพุทธบาทยังมีลวดลายแกะสลักหินที่งดงาม แม้จะจางหายไปบ้างตามกาลเวลาที่แสนจะยาวนานมาแล้ว แต่ผู้เขียนขอยืนยันว่า รอยพระพุทธบาทสมัยสุโขทัยที่เห็นในครั้งนี้มีความงดงามในรายละเอียดจริงๆ

อาณาจักรทวารวดี  ยุคความรุ่งเรืองของพุทธศาสนา

         นอกเหนือจากงานศาสนวัตถุที่พบมาตั้งแต่สมัยทวารวดี และสุโขทัย แล้ว แน่นอนค่ะว่าพุทธศาสนามีอิทธพลสูงสุดอีกครั้งในยุค กรุงศรีอยุธยา อันรุ่งเรือง หากพิจารณาจากศิลปวัตถุ โบราณวัตถุที่พบเจอจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ เราจะพบเห็นความรุ่งเรืองแห่งยุคสมัย ผ่านงานช่างฝีมือชาวกรุงศรีอยุธยาเกือบทุกที่ในประเทศไทย ยุคทองแห่งกรุงศรีอยุธยามีความรุ่งเรืองเพียงใด ให้ดูได้จากวัด โบราณสถาน และศาสนวัตถุซึ่งเป็นที่กราบไหว้บูชา และเป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านในท้องที่นั้นๆ ชิ้นงานที่จัดแสดงอีกชิ้น ที่การันตีความวิจิตรและประณีตของช่างกรุงศรีอยุธยาได้ในงานนิทรรศการนี้ อาทิ เช่น รอยพระพุทธบาท ที่มีขนาดใหญ่กว่ารอยพระพุทธบาทสมัยสุโขทัย รอยพระพุทธบาท สมัยอยุธยา ที่จัดแสดง ถูกค้นพบที่วัดพระราม ศาสนสถานที่เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือ พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา ชิ้นงานเหล่านี้ ต้องใช้เวลาในการพินิจพิจารณา เพราะมีรายละเอียด และความสวยงามและมีความหมายทั้งสิ้น

ศิลาจารึกวัดมเหยงค์
ศิลาจารึกวัดมเหยงค์

    ในการจัดนิทรรศการครั้งนี้ ยังมีโบราณวัตถุ ที่มีอายุย้อนไปถึงสมัยปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ช่วงสมัยอาณาจักรทวารวดี เช่น ศิลาจารึกวัดมเหยงค์ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งทำให้พิสูจน์ได้ว่า ศาสนาพุทธได้เข้ามามีบทบาทแต่ความเชื่อ ความศรัทธา ไม่เพียงแต่เฉพาะศูนย์กลางอาณาจักรทวารวดี ซึ่งก็คือ จ.นครปฐม ในปัจจุบันนี้เท่านั้น แต่ยังมีบทบาทและถูกเผยแพร่ไปถึงทางภาคใต้ด้วยเช่นกัน

This slideshow requires JavaScript.

        นอกจากศิลปะในแบบของไทยแล้ว นิทรรศการครั้งนี้ยังจัดศาสนวัตถุ โบราณวัตถุในสมัยอื่นๆ ด้วย เช่น ศิลปะแบบปาละ (อินเดีย) ศาสนวัตถุแบบจาม พระพุทธรูปศิลปะแบบพม่า เป็นต้น

        นิทรรศการ พุทธปฏิมาวิจักษณ์จากภารตะสู่สุวรรณภูมิจะมีให้ชมไปถึงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๑ นี้ ผู้เขียนจึงถือโอกาสเชิญชวนให้ผู้สนใจ รวมถึงพุทธศาสนิกชนทั่วไป ได้เข้าชม ศึกษา หาความรู้กันค่ะ เพราะงานนิทรรศการที่รวบรวมพุทธศิลป์สมัยต่างๆ ที่มีบทบาท มีความเจริญรุ่งเรืองในแต่ละยุคสมัยเช่นนี้ หาชมได้ยากนะคะ หากต้องการชม คงต้องเดินทางกันทั่วประเทศ เนื่องในโอกาสความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและอินเดีย ครั้งนี้ จึงไม่ควรพลาดค่ะ

หาความรู้เพิ่มเติม

แนะนำหนังสือ เพิ่มเติม

ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย : History of Indian Art
อินเดียได้รับการยกย่องให้เป็นบ่อเกิดแห่งศิลปวัฒนธรรมของเอเชียอาคเนย์ หนังสือประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียเล่มนี้ ได้นำเสนอเนื้อหาเรื่องราว สาระเกี่ยวกับศิลปกรรมอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณเรื่อยมา
ผู้เขียน กำจร สุนพงษ์ศรี (Kamchorn Soonpongsri)

อินเดียได้รับการยกย่องให้เป็นบ่อเกิดแห่งศิลปวัฒนธรรมของเอเชียอาคเนย์ หนังสือ “ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย” เล่มนี้ จึงได้นำเสนอเนื้อหาเรื่องราว สาระเกี่ยวกับศิลปกรรมอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณเรื่อยมา จนถึงก่อนเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ได้แสดงให้เห็นถึงพลังศรัทธาในศาสนาและอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดผลงานศิลปกรรมที่น่าสนใจยิ่ง สามารถสร้างความเข้าใจขั้นพื้นฐานถึงที่มาของศิลปกรรมอินเดีย ที่ส่งผลถึงชาติต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์ได้เป็นอย่างดี

ISBN : 9789740334071 (ปกอ่อน) 412 หน้า
ขนาดรูปเล่ม : 190 x 260 x 20 มม.
น้ำหนัก : 760 กรัม
เนื้อในพิมพ์ : ขาวดำ
ชนิดกระดาษ : กระดาษปอนด์
สำนักพิมพ์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สนพ.แห่ง
เดือนปีที่พิมพ์ : /2015

ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย (PDF)
ผู้เขียน ศ.ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
รหัสสินค้า : 5522300003307 (PDF) 0Bytes 296 หน้า
ชนิดกระดาษ : PDF
สำนักพิมพ์ : เมืองโบราณ, สนพ.

>>  สั่งซื้อหนังสือเล่มนี้ ทางออนไลน์  <<

 

 

 

 

พิพิธฑสถานแห่งชาติ พระนคร

เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์

ประชาสัมพันธ์

 


GQ กางเกงชิโน ผ้ายืด สีแดง ใส่สบาย น้ำหนักเบา สะท้อนน้ำ เหมาะกับอากาศร้อน สบายจริงๆ สบายจัดๆ
GQ กางเกงชิโน >> คลิ๊ก



 

ตั้งแต่ ๐๘.๓๐๑๖.๐๐น.

ค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ ๓๐ บาท

อัตราค่าเข้าชม
บัตรปลีก คนไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 200 บาท
บัตรรวม คนไทย 60 บาท ชาวต่างประเทศ 350 บาท
** บัตรรวมสามารถเข้าชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์
 เข้าชมโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาต่างๆ

ติดต่อ
.หน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ : 02-224-1370 โทรสาร : 02-224-9911
ฝ่ายบริการการศึกษา : 02-224-1333 โทรสาร : 02-224-1404
ฝ่ายวิชาการ : 02-224-1402 โทรสาร : 02-224-1402
เวลาทำการ 09.00 – 16.00.
ปิดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์

การเดินทาง
• รถประจำทาง : 3  6  9  15  19  30  32  33  39  43  47  53  59  60  65  70  80  82  91  123  201  203
• รถปรับอากาศ : 1  8  25  506  507  512 สาย38  39  82
• ท่าเรือ : เรือด่วนเจ้าพระยาลงที่ ท่าช้าง

 

 



Cultures of Fermented 
by Scoby Doit
Previous ArticleNext Article