Bag Gallery & Fashion, Thai Book Review แนะนำหนังสือ, Uncategorized

ตามรอยพุทธศาสนา ผ่านพุทธศิลป์ ศาสนวัตถุที่ล้ำค่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

         พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เปิดห้องนิทรรศการใหม่ในหมู่พระวิมาน ทั้ง ๔ ห้อง ได้แก่ : ห้องผ้าในราชสำนักสยาม, ห้องดนตรีการแสดงการละเล่น, ห้องศาสตราวุธ และห้องโลหะยศเจ้านายวมไปถึงพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอนุชาธิราชในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระราชอิสริยยศเทียบเท่าพระเจ้าแผ่นดิน เคียงคู่รัชกาลที่ ๔

       แต่บทความนี้ จะยังไม่กล่าวถึง ห้องนิทรรศการที่เปิดใหม่นะคะ ขอยกยอดไปไว้ในบทความต่อไป โดย ผู้เขียน มีอีกนิทรรศการแห่งหนึ่ง ที่จะแนะนำ โดยจัดแสดงอยู่ ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เป็นนิทรรศการที่น่าสนใจไม่น้อยเลย และหาชมได้ยากยิ่งในปัจจุบัน จึงใคร่ขออยากเชิญทุกท่านได้ไปเยือนและได้ชมศาสนวัตถุที่ล้ำค่า มีคุณค่าต่อจิตใจ และทำให้เราได้เรียนรู้พุทธศาสนา รูปแบบ ต้นกำเนิด ที่มา และลักษณะของพระพุทธรูปที่หาชมได้ยากยิ่ง ในหัวข้อนิทรรศการที่มืชื่อว่า

พุทธปฏิมาวิจักษณ์จากภารตะสู่สุวรรณภูมิ

        เมื่อพูดถึงประเทศอินเดีย เราจะนึกถึงต้นกำเนิดของศาสนาที่สำคัญหลายๆ ศาสนา และหนึ่งในศาสนาที่เป็นที่รู้จักกันของคนทั้งโลก ก็มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย นั่นคือ ศาสนาพุทธ เนื่องในวโรกาสครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐอินเดีย ๗๐ ปี และวาระครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูต ๒๕ ปี ระหว่างสาธารณรัฐอินเดียกับกลุ่มประเทศอาเซียน ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ทางกรมศิลปากรจึงได้จัดนิทรรศการ เรื่อง พุทธปฏิมาวิจักษณ์จากภารตะสู่สุวรรณภูมิ”   เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่ครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐอินเดีย ด้วยการนำโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางของศาสนาพุทธมาสู่สุวรรณภูมิ จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และคลังกลาง ของประเทศไทยรวมจำนวนทั้งสิ้น ๖๒ รายการ รวมถึงศิลปะสะสมของเอกชน อีก ๒ รายการ นำมารวบรวมและจัดแสดง

โดยแบ่งโบราณวัตถุออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่

  • โบราณวัตถุศิลปะอินเดีย
  • โบราณวัตถุศิลปะไทยที่ได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดีย
  • โบราณวัตถุศิลปะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดีย อาทิ ธรรมจักรและกวางหมอบ ศิลปะอินเดียแบบคันธาระ พุทธศตวรรษที่ ๖ ๑๑ , พระพุทธรูปปางประทานอภัย ศิลปะอินเดียแบบคันธาระ พุทธศตวรรษที่ ๖ ๑๑ , พระพุทธรูปเสด็จจากดาวดึงส์ ศิลปะอินเดียแบบปาละ พุทธศตวรรษที่ ๑๔
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ธรรมจักรและกวางหมอบ ศิลปะอินเดียแบบคันธาระ พุทธศตวรรษที่ ๖ – ๑๑
ค่าดัชนีกันแดด UPF50+ เป็นระดับการป้องกันแสงแดดที่สูงที่สุดในโลก ปิดกั้นรังสียูวี ได้ถึง 98% ป้องกันผิวแดง มะเร็งผิวหนัง และการเกิดริ้วรอย

           โบราณวัตถุที่น่าชมในงานนิทรรศการครั้งนี้ มีหลายชิ้นด้วยกันค่ะ แต่ละชิ้นมีคุณค่าแบบที่ประเมินไม่ได้เลย โดยเฉพาะชิ้นงานโบราณวัตถุตั้งแต่สมัยทวารวดี เช่น แท่นเสาธรรมจักรมีจารึก โบราณวัตถุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ ซึ่งพบที่อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม, ภาพสลักพระพุทธเจ้าทรงแสดงเทศนาธรรม ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นตอนปฐมเทศนา พบที่วัดไทร จ.นครปฐม เช่นกัน งานแกะสลักหินชิ้นนี้มีความละเอียด งดงามและประณีตมากค่ะ

ภาพสลักพระพุทธเจ้าทรงแสดงเทศนาธรรม

         การขุดค้บพบโบราณวัตถุสมัยทวราวดี ที่จ.นครปฐม เป็นจำนวนมากนั้น เนื่องจากในอดีต นครปฐมคือศูนย์กลางแห่ง อาณาจักรทวารวดี ยุคความรุ่งเรืองของพุทธศาสนา รูปแบบงานโบราณวัตถุที่พบเจอจึงเป็นลักษณะของการแกะสลักหินมากกว่าการประดับตกแต่งด้วยอัญมณี เช่นในยุคหลังจากนี้มา หรือการค้นพบรอยพระพุทธบาท ศิลปะสุโขทัย ที่มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งพบเจอที่วัดเขานางนอง จ.กำแพงเพชร ลักษณะของรอยพระพุทธบาทเป็นหินชนวน ที่มีขนาดความยาว ๑๗๓ ซม. และกว้างถึง ๑๑๓.๕ ซม. บนรอยพระพุทธบาทยังมีลวดลายแกะสลักหินที่งดงาม แม้จะจางหายไปบ้างตามกาลเวลาที่แสนจะยาวนานมาแล้ว แต่ผู้เขียนขอยืนยันว่า รอยพระพุทธบาทสมัยสุโขทัยที่เห็นในครั้งนี้มีความงดงามในรายละเอียดจริงๆ

อาณาจักรทวารวดี  ยุคความรุ่งเรืองของพุทธศาสนา

         นอกเหนือจากงานศาสนวัตถุที่พบมาตั้งแต่สมัยทวารวดี และสุโขทัย แล้ว แน่นอนค่ะว่าพุทธศาสนามีอิทธพลสูงสุดอีกครั้งในยุค กรุงศรีอยุธยา อันรุ่งเรือง หากพิจารณาจากศิลปวัตถุ โบราณวัตถุที่พบเจอจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ เราจะพบเห็นความรุ่งเรืองแห่งยุคสมัย ผ่านงานช่างฝีมือชาวกรุงศรีอยุธยาเกือบทุกที่ในประเทศไทย ยุคทองแห่งกรุงศรีอยุธยามีความรุ่งเรืองเพียงใด ให้ดูได้จากวัด โบราณสถาน และศาสนวัตถุซึ่งเป็นที่กราบไหว้บูชา และเป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านในท้องที่นั้นๆ ชิ้นงานที่จัดแสดงอีกชิ้น ที่การันตีความวิจิตรและประณีตของช่างกรุงศรีอยุธยาได้ในงานนิทรรศการนี้ อาทิ เช่น รอยพระพุทธบาท ที่มีขนาดใหญ่กว่ารอยพระพุทธบาทสมัยสุโขทัย รอยพระพุทธบาท สมัยอยุธยา ที่จัดแสดง ถูกค้นพบที่วัดพระราม ศาสนสถานที่เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือ พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา ชิ้นงานเหล่านี้ ต้องใช้เวลาในการพินิจพิจารณา เพราะมีรายละเอียด และความสวยงามและมีความหมายทั้งสิ้น

ศิลาจารึกวัดมเหยงค์
ศิลาจารึกวัดมเหยงค์

    ในการจัดนิทรรศการครั้งนี้ ยังมีโบราณวัตถุ ที่มีอายุย้อนไปถึงสมัยปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ช่วงสมัยอาณาจักรทวารวดี เช่น ศิลาจารึกวัดมเหยงค์ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งทำให้พิสูจน์ได้ว่า ศาสนาพุทธได้เข้ามามีบทบาทแต่ความเชื่อ ความศรัทธา ไม่เพียงแต่เฉพาะศูนย์กลางอาณาจักรทวารวดี ซึ่งก็คือ จ.นครปฐม ในปัจจุบันนี้เท่านั้น แต่ยังมีบทบาทและถูกเผยแพร่ไปถึงทางภาคใต้ด้วยเช่นกัน

This slideshow requires JavaScript.

        นอกจากศิลปะในแบบของไทยแล้ว นิทรรศการครั้งนี้ยังจัดศาสนวัตถุ โบราณวัตถุในสมัยอื่นๆ ด้วย เช่น ศิลปะแบบปาละ (อินเดีย) ศาสนวัตถุแบบจาม พระพุทธรูปศิลปะแบบพม่า เป็นต้น

        นิทรรศการ พุทธปฏิมาวิจักษณ์จากภารตะสู่สุวรรณภูมิจะมีให้ชมไปถึงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๑ นี้ ผู้เขียนจึงถือโอกาสเชิญชวนให้ผู้สนใจ รวมถึงพุทธศาสนิกชนทั่วไป ได้เข้าชม ศึกษา หาความรู้กันค่ะ เพราะงานนิทรรศการที่รวบรวมพุทธศิลป์สมัยต่างๆ ที่มีบทบาท มีความเจริญรุ่งเรืองในแต่ละยุคสมัยเช่นนี้ หาชมได้ยากนะคะ หากต้องการชม คงต้องเดินทางกันทั่วประเทศ เนื่องในโอกาสความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและอินเดีย ครั้งนี้ จึงไม่ควรพลาดค่ะ

หาความรู้เพิ่มเติม

แนะนำหนังสือ เพิ่มเติม

ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย : History of Indian Art
อินเดียได้รับการยกย่องให้เป็นบ่อเกิดแห่งศิลปวัฒนธรรมของเอเชียอาคเนย์ หนังสือประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียเล่มนี้ ได้นำเสนอเนื้อหาเรื่องราว สาระเกี่ยวกับศิลปกรรมอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณเรื่อยมา
ผู้เขียน กำจร สุนพงษ์ศรี (Kamchorn Soonpongsri)

อินเดียได้รับการยกย่องให้เป็นบ่อเกิดแห่งศิลปวัฒนธรรมของเอเชียอาคเนย์ หนังสือ “ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย” เล่มนี้ จึงได้นำเสนอเนื้อหาเรื่องราว สาระเกี่ยวกับศิลปกรรมอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณเรื่อยมา จนถึงก่อนเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ได้แสดงให้เห็นถึงพลังศรัทธาในศาสนาและอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดผลงานศิลปกรรมที่น่าสนใจยิ่ง สามารถสร้างความเข้าใจขั้นพื้นฐานถึงที่มาของศิลปกรรมอินเดีย ที่ส่งผลถึงชาติต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์ได้เป็นอย่างดี

ISBN : 9789740334071 (ปกอ่อน) 412 หน้า
ขนาดรูปเล่ม : 190 x 260 x 20 มม.
น้ำหนัก : 760 กรัม
เนื้อในพิมพ์ : ขาวดำ
ชนิดกระดาษ : กระดาษปอนด์
สำนักพิมพ์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สนพ.แห่ง
เดือนปีที่พิมพ์ : /2015

ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย (PDF)
ผู้เขียน ศ.ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
รหัสสินค้า : 5522300003307 (PDF) 0Bytes 296 หน้า
ชนิดกระดาษ : PDF
สำนักพิมพ์ : เมืองโบราณ, สนพ.

>>  สั่งซื้อหนังสือเล่มนี้ ทางออนไลน์  <<

 

 

 

 

พิพิธฑสถานแห่งชาติ พระนคร

เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์

ประชาสัมพันธ์
 เครื่องดื่ม โพรไบโอติก Probiotics-n1
KOMBUCHA BY SCOBY DO IT เครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการหมัก มีสรรพคุณทางยา โดยมี “จุลินทรีย์ โพรไบโอติก Probiotics” ที่เป็นพระเอกของเครื่องดื่มชนิดนี้

ตั้งแต่ ๐๘.๓๐๑๖.๐๐น.

ค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ ๓๐ บาท

อัตราค่าเข้าชม
บัตรปลีก คนไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 200 บาท
บัตรรวม คนไทย 60 บาท ชาวต่างประเทศ 350 บาท
** บัตรรวมสามารถเข้าชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์
 เข้าชมโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาต่างๆ

ติดต่อ
.หน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ : 02-224-1370 โทรสาร : 02-224-9911
ฝ่ายบริการการศึกษา : 02-224-1333 โทรสาร : 02-224-1404
ฝ่ายวิชาการ : 02-224-1402 โทรสาร : 02-224-1402
เวลาทำการ 09.00 – 16.00.
ปิดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์

การเดินทาง
• รถประจำทาง : 3  6  9  15  19  30  32  33  39  43  47  53  59  60  65  70  80  82  91  123  201  203
• รถปรับอากาศ : 1  8  25  506  507  512 สาย38  39  82
• ท่าเรือ : เรือด่วนเจ้าพระยาลงที่ ท่าช้าง

 

 



Cultures of Fermented 
by Scoby Doit
Previous ArticleNext Article