คุณเคยทราบหรือไม่คะว่า ทางเดินเท้า ที่เราเดินย่ำกันอยู่ ทุกวันนี้ บนทางเท้ามีสัญลักษณ์ที่น่ าสนใจ ซึ่งคนส่วนใหญ่อาจจะไม่ได้ให้ ความสนใจ หรือความสำคัญนัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันมีความหมายมากโดยเฉพาะอย่ างยิ่ง กับผู้พิการทางสายตาค่ะ
หากคุณลองสังเกตพื้นกระเบื้องที่ปู บนทางเท้า จะมีบางแผ่นที่พิเศษ มีลวดลายที่แตกต่างกันและเป็ นลวดลายที่นูน อีกทั้งสีที่ต่างกันด้วย ปุ่มสัมผัสพิเศษเมื่อเราย่ำเท้ าลงไปนั้น เราเรียกว่า Braille Block หรือ เบรลล์บล็อค ค่ะ พูดให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นก็คือ เป็นอักษรเบรลล์ที่ ปรากฎบนทางเท้า ให้ผู้พิการทางสายตารับรู้ได้ว่ า เขาสามารถจะเลือกเดินไปในเส้ นทางใดได้สะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งจุดไหน คือ จุดที่ต้องหยุด หรือ รอค่ะ
Braille Block หรือ เบรลล์บล็อค อักษรเบรลล์ที่ปรากฎบนทางเท้า ให้ผู้พิการทางสายตารับรู้ได้ว่า เขาสามารถจะเลือกเดินไปในเส้นทางใดได้สะดวกและรวดเร็ว ผู้ประดิษฐ์อักษรเบรลล์เป็ นคนแรก คือ คุณครูตาบอดชาวฝรั่งเศส นามว่า หลุยส์ เบรลล์ ซึ่งท่านได้คิดค้นสัญลักษณ์ แทนตัวอักษรโดยเลือกใช้จุดนู นเล็กๆ ขึ้นมา โดยในแต่ละช่องจะประกอบไปด้วยจุ ดนูนเล็กๆ 6 ตำแหน่ง และจัดวางสลับตำแหน่งไปมาเป็ นรหัสแทนตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ ผลจากการคิดค้นของหลุยส์ เบรลล์ ทำให้ผู้พิการทางสายตาได้มี โอกาสสื่อสาร เรียนรู้ และเข้าถึงข้อมูลต่างๆ มากยิ่งขึ้น เป็นการคิดค้นที่วิเศษที่สุด เพราะเท่ากับเป็นการเปิดโลกให้ กว้างขึ้นแก่ผู้พิการทางสายตาทุ กคนบนโลกใบนี้
ค่าดัชนีกันแดด UPF50+ เป็นระดับการป้องกันแสงแดดที่สูงที่สุดในโลก ปิดกั้นรังสียูวี ได้ถึง 98% ป้องกันผิวแดง มะเร็งผิวหนัง และการเกิดริ้วรอย เท่านี้ยังไม่พอค่ะ ต่อมามีการต่อยอดการคิดค้นอั กษรเบรลล์ขึ้นอีกครั้ง โดย คุณ Seiichi Meyaki นั่นคือ การนำอักษรเบรลล์มาสร้างเป็นสั ญลักษณ์ให้แก่ผู้พิ การทางสายตามากขึ้น โดยการทำทางเท้าสำหรับผู้พิ การทางสายตา ที่เรียกว่า Braille Block นั่นเองค่ะ
ผู้ประดิษฐ์อักษรเบรลล์เป็นคนแรก คือ คุณครูตาบอดชาวฝรั่งเศส นามว่า หลุยส์ เบรลล์
Seiichi Meyaki ครูโรงเรียนตาบอดแห่งหนึ่ งในประเทศญี่ปุ่น ได้คิดค้นทางเท้าที่เรียกว่า Tenji หรือ ที่รู้จักในชื่อของ Braille Block หรือ Tactile Paving ซึ่งเป็นทางเท้าสำหรับผู้พิ การทางสายตา การคิดค้นครั้งนี้เริ่มในปีคริ สต์ศักราช 1965 สองปีถัดมาตัวอักษรเบรลล์ได้ นำมาประยุกต์และจัดสร้างเป็ นกระเบื้องสำหรับทางเท้าขึ้น และได้มีการนำมาใช้จริงในครั้ งแรกคือ วันที่ 18 มีนาคม ปีคริสต์ศักราช 1967 หน้าโรงเรียนสอนคนตาบอดในเมื องโอกายาม่า ได้รับเสียงตอบรับถึงความชื่ นชมในการคิดค้น โดยมีหน่ วยงานการรถไฟของประเทศญี่ปุ่น Japanese National Railway ให้ความเห็นชอบและสนับสนุนการจั ดทำขึ้น โดยจัดให้มีการปู Braille Block ตามสถานีรถไฟในญี่ปุ่นก่อน และถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่ หลายในประเทศญี่ปุ่นในเวลาต่อมา จนกระทั่งทั่วโลกให้ความสำคัญกั บการประดิษฐ์คิดค้นและนำมาใช้กั นทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน อาทิ เช่น ประเทศจีน ไต้หวัน เกาหลี เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม เป็นต้น
สำหรับสัญลักษณ์บนทางเท้าของผู้ พิการที่น่าสนใจมี 2แบบ ที่ควรทราบค่ะ ซึ่งเป็น 2 แบบที่ คุณ Seichii Meyaki ได้ต่อยอดโดยการคิดค้นอั กษรเบรลล์ขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการใช้ง่าย การจดจำและสะดวกต่อผู้พิ การทางสายตา สัญลักษณ์ดังกล่าวคือ
แบบที่ 1 ลักษณะเป็นปุ่มกลมๆ ซึ่งมีความหมายว่า ให้หยุด หรือ แจ้งให้ทราบว่าทางข้างหน้า เป็นทางม้าลาย หรือ บันได ในต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศญี่ ปุ่น ให้ความใส่ใจต่อผู้พิ การทางสายตาเป็นพิเศษยิ่ง โดยแผ่นกระเบื้องบนทางเท้ายังมี เสียงแจ้งเตือนให้ทราบอีกด้วยว่ า สัญญาณไฟจราจรขณะนี้เป้นสีเขียว หรือ สีแดง เช่นหากเป็นไฟเขียว สัญญาณเสียง ก็จะส่งเสียงให้ทราบเป็นจังหวะ แต่หากไฟจราจรกำลังจะเปลี่ยนสั ญญาณ เสียงสัญญาณก็จะถี่ขึ้น หรือเร็วขึ้นค่ะ
ประชาสัมพันธ์
GQ กางเกงชิโน ผ้ายืด สีแดง ใส่สบาย น้ำหนักเบา สะท้อนน้ำ เหมาะกับอากาศร้อน สบายจริงๆ สบายจัดๆ GQ กางเกงชิโน >> คลิ๊ก
แบบที่ 2 ลักษณะเป็นเส้นยาวลายตรง ซึ่งมีความหมายตรงตามสัญลักษณ์ นั่นคือ ให้เดินตรงไป
สัญลักษณ์ทั้ง 2 แบบ เมื่อผู้พิการทางสายตาใช้ไม้เท้ าอำนวยความสะดวกในการเดิน ก็จะสามารถสัมผัสและเข้าใจได้ง่ ายยิ่งขึ้น และที่สำคัญนอกจากอักษรเบรลล์ที่ ใช้เป็นสัญลักษณ์ในการบอกทิ ศทางและอำนวยความสะดวกในการเดิ นแล้ว ยังมีเรื่องของสี ซึ่งนิยมใช้สีเหลือง เพื่อความสว่างและมองเห็นง่าย กรณีนี้อำนวยความสะดวกเป็นอย่ างยิ่งสำหรับผู้พิการทางสายตา ที่อาจจะมองเห็นได้บ้าง หรือ ผู้มีปัญหาทางการมองเห็น เพราะไม่ว่าจะกลางวัน หรือ กลางคืน ก็สามารถเห็นได้เช่นกันค่ะ
ไม่ว่าคุณ Seiichi Meyaki จะได้รับรางวัลจากนวัตกรรมที่ ทรงคุณค่านี้หรือไม่ สิ่งหนึ่งที่ควรต้องบอก คือ คำขอบคุณเสียงดังๆ ต่อคุณ Seiichi Meyaki ที่ท่านได้ตั้งใจและมุ่งหวังที่ จะช่วยเหลือผู้พิการทางสายตาได้ มีโอกาสดำรงชีวิตในโลกภายนอกได้ สะดวก เฉกเช่นผู้คนปกติทั่วไปบนท้ องถนน คุณ Seiichi Meyaki ได้จากโลกนี้ไปแล้วด้วยวัย 57ปี ทิ้งผลงานที่คนส่วนใหญ่ บนโลกใบนี้ไม่ทราบว่าใคร คือ ผู้คิดค้นรหัสลับบนทางเท้า เป็นรหัสที่บอกถึงความรั กและความปรารถนาดีจากคุณ Seiichi Meyaki ต่อเพื่อนร่วมโลก ผลงานของคุณ Seiichi Meyaki คือ นวัตกรรมแห่งความสุขของผู้พิ การทางสายตาอย่างแท้จริง
Domo Arigatou Gozaimasu!!
อ้างอิง https://thelimpingphilosopher. wordpress.com/tag/seiichi- miyake/ http://design-real.com/paving/ Facebook: MyFreedom
Cultures of Fermented
by Scoby Doit
Related