miscellaneous, Thai Book Review แนะนำหนังสือ

รำลึกตระหนักอนุรักษ์ “ช้างไทย” ให้คงอยู่คู่แผ่นดิน ถิ่นขวานทอง

ช้างไทย ในรัชกาลที่ ๙

ประเทศไทยเราถือกันว่าช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง เมื่อครั้งโบราณนั้น ยามใดที่บ้านเมืองมีศึก ก็ใช้ ช้างไทย เป็นพาหนะขององค์จอมทัพไทยในการรบพุ่งประจัญบานทำยุทธหัตถี

๑๓ มีนาคม รำลึกตระหนักอนุรักษ์ “ช้างไทย”

ให้คงอยู่ คู่แผ่นดิน ถิ่นขวานทอง…

ประเทศไทยเราถือกันว่า ช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง เมื่อครั้งโบราณนั้น ยามใดที่บ้านเมืองมีศึก ก็ใช้ช้างเป็นพาหนะขององค์จอมทัพไทยในการรบพุ่งประจัญบานทำยุทธหัตถี ช้างเคยมีบทบาทสำคัญในการสู้รบปราบปรามอริราชศัตรู ป้องกันบ้านเมืองตลอดมา จนถึงมีส่วนในการ กรำศึกกอบกู้เอกราชของชาติไทยมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร” เสด็จขึ้นครองราชย์ และเป็นจอมทัพไทยจนถึงบัดนี้เป็นเวลากว่า ๗๐ ปี มีการขึ้นระวางช้างเผือกทั้งสิ้น ๒๑ ช้าง ปัจจุบันเหลือ ๑๐ ช้าง

(๑) ช้างเผือกคู่พระบารมีเชือกแรกในรัชกาลที่

เป็นช้างพลายเผือกโท เดิมมีนามว่า ”พลายแก้ว” คล้องได้เมื่อปี ๒๔๙๙ ที่ ต.ดินอุดม อ.ลำทับ จ.กระบี่ และได้ขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้นพระราชวังดุสิต เมื่อ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๒ พระราชทานนามว่า

“พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวนาถบารมี ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส บรมกมลาสนวิศุทธวงศ์ สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาติ สยามราษฎรสวัสดิ ประสิทธิ์รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ ปรมินทรบพิตร สารศักดิเลิศฟ้า”

cider vinegar แครนเบอร์รี่

ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ ให้ไปยืนโรงที่เขาดินวนาเป็นการชั่วคราว จนโรงช้างต้นในบริเวณสวนจิตรลดาเสร็จ จึงได้ย้ายเข้าไปอยู่ ต่อจากนั้นทรงประกอบพิธีสมโภชโรงช้างต้น วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พร้อมทรงโปรดเกล้าฯ ให้เชิญ “พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ” มายืนโรง ณ โรงช้างต้นวังไกลกังวล ปัจจุบัน พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ได้ล้มลงแล้ว เมื่อ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓

ช้างไทย เป็นพาหนะขององค์จอมทัพไทย

  สำหรับช้างเผือกอีก ๙ ช้าง ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร”  ประกอบด้วย…

(๒) พระเศวตวรรัตนกรีฯ  หรือ “ พระเศวตวรรัตนกรี นพีสีสิริพิงคนัทย์ เอกาทัศมงคลสุลักษณ์ ศุภนัขเนตราทิโควรรณ พิษณุพันธ์อัครคชาธาร อัฏฐ์กุลสารดามพหัสดิน ปรมินทรมหาราชพาหน สยามประชาชนสวัสดิคุณ เดชอดุลยเลิศฟ้าฯ”

    เป็นช้างพลายเผือกลูกบ้าน เกิดจากแม่ช้างบ้านของนายแก้ว ปัญญาคง ที่ ต.อ่อนใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ต่อมา พ.ต.อ.นิรันดร ชัยนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ น้อมเกล้าฯ ถวาย สมโภชขึ้นระวาง ณ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๙ และได้ล้มลงที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐

(๓)  พระเศวตสุรคชาธารฯ หรือ “ พระเศวตสุรคชาธาร บรมนฤบาลสวามิภักดิ์ ศุภลักษณเนตราธิคุณ ทศกุลวิศิษฏพรหมพงศ์ อดุลยวงศ์ตามพหัตถี ประชาชนะสวัสดีวิบุลย ศักดิ์ อัครสยามนาถสุรพาหน มงคลสารเลิศฟ้าฯ”

เป็นช้างพลายเผือกลูกเถื่อน จาก ต.บาลอ อ.รามัน จ.ยะลา โดยผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา น้อมเกล้าฯ ถวาย เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๑เป็นช้างสำคัญในตระกูลพรหมพงศ์ สมโภชขึ้นระวาง ณ จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๑ พระเศวตสุรคชาธารฯ เคยเป็นพระสหายในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อยังทรงพระเยาว์ ได้ตามเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปยังวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ อยู่เสมอ พระเศวตสุรคชาธาร ได้ล้มลง ณ โรงช้างต้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐

(๔) พระศรีเศวตศุภลักษณ์ฯ หรือ “ พระศรีเศวตศุภลักษณ์ อรรครัตนกริณี ดามพหัสดีพิษณุพงศ์ ดำรงสุทธสกนธ์สุคนธชาติ เฉลิมราชกฤดาบารมี ศรีตรังคพิเศษสุทธิ์ อุตดมสารเลิศฟ้า”

เป็นช้างป่า เกิดในป่าพนมสารคามรอยต่อของห้าจังหวัดในภาคตะวันออก ในเขต จ.ฉะเชิงเทรา พรานป่ายิงแม่ช้างแล้วจับลูกช้างมาเลี้ยงไว้ตั้งแต่อายุสี่เดือน โดยขาหน้าซ้ายได้รับบาดเจ็บเน่าเปื่อย ต่อมานายอนุสร ทรัพย์มนู ได้ออกเงินซื้อจากพราน และมอบให้อยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ ตั้งชื่อว่า “เจ้าแต๋น” และนำไปอนุบาลที่ที่ทำการวนอุทยานเขาช่อง ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด จ.ตรัง ผู้ว่าราชการจังหวัดตรังและอธิบดีกรมป่าไม้ น้อมเกล้าฯ ถวาย สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๗พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๙

(๕) พระเศวตศุทธวิลาศฯ หรือ “พระเศวตสุทธวิลาศ อัฏฐคชชาตพิษณุพงศ์ ดำรงประภาพมหิมัน ตามรพรรณไพศิษฏ์ ผริตวรุตตมมงคล ดาสศุภผลสวัสดิวิบุล อดุลยลักษณ์เลิศฟ้าฯ”

เกิดประมาณ พ.ศ.๒๕๑๗  เป็นช้างพลายสีดอ พบโดยคนงานกรมป่าไม้ในป่าบริเวณแม่น้ำแควน้อย จ.กาญจนบุรี  ให้ชื่อว่า ”พลายบุญรอด” และนำไปเลี้ยงที่วนอุทยานเขาเขียว จ.ชลบุรี อธิบดีกรมป่าไม้ ได้น้อมเกล้าฯ ถวาย เป็นช้างสำคัญในตระกูลวิษณุพงศ์ และสมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๐ พระเศวตสุทธวิลาศฯ ย้ายไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง

(๖) พระวิมลรัตนกิริณีฯ หรือ “พระวิมลรัตนกิริณี กมุทศรีพรรณโศภิต อัฏฐทิศพงศ์กมลาสน์ อรรคราชทิพยพาหน ถกลกิตติคุณกำจร อมรสารเลิศฟ้าฯ”

เป็นช้างพังเผือกลูกเถื่อน จาก จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยนายปรีชา และนางพิมพ์ใจ วารวิจิตร ได้น้อมเกล้าฯ ถวาย เป็นช้างสำคัญในตระกูลพรหมพงศ์ จำพวกอัฏฐทิศ ชื่อกมุท สมโภชขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่๓๐มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๐ ต่อมา พระวิมลรัตนกิริณีฯ ย้ายไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จ.สกลนคร ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๘

(๗) พระศรีนรารัฐราชกิริณีฯ หรือ “ พระศรีนรารัฐราชกิริณี จิตรวดีโรจนสุวงศ์ พรหมพงศ์อัฏฐทิศพิศาล พิเสฐธารธรณิพิทักษ์ คุณารักษกิตติกำจร อมรสารเลิศฟ้าฯ”

เป็นช้างพังเผือกลูกเถื่อน พลัดจากแม่ช้างป่าบริเวณป่าเทือกเขากือซา ต.จะแนะ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส นายมายิ มามุ ราษฎรบ้านกูมุง ต.จะแนะ ผู้พบได้ตั้งชื่อให้เป็นภาษาพื้นเมืองว่า จิ ต่อมาได้ชื่อว่า “พังจิตรา” นายวัชร สิงคิวิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส น้อมเกล้าฯ ถวาย เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๐ เป็นช้างสำคัญในตระกูลพรหมพงศ์ จำพวกอัฏฐทิศ ชื่ออัญชัน สมโภชขึ้นระวาง ณ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๐ปัจจุบัน พระศรีนรารัฐราชกิริณีฯ ยืนโรงอยู่ ณ โรงช้างต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต

(๘) พระเศวตภาสุรคเชนทร์ฯ หรือ “พระเศวตภาสุรคเชนทร์ นวเมนทราพาหน สุทธวิมลวิษณุพงศ์ คุณธำรงดามพหัสดินทร์ สุพัชรินทร์อนันตพล คชมงคลเลิศฟ้าฯ”

เป็นช้างพลายเผือกลูกเถื่อนเกิดจากแม่ช้างป่าในเขต ต.สองพี่น้อง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี พบโดยชาวกะเหรี่ยง บ้านหนองปืนแตก ต.สองพี่น้อง และนำมามอบให้นายสุรเดช มหารมย์ เจ้าของไร่ภาศรี และให้ชื่อว่า ”พลายภาศรี” นายศุภโยค พาณิชย์วิทย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี น้อมเกล้าฯ ถวาย สมโภชขึ้นระวาง ณ จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๑ #เป็นช้างสำคัญในตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวกอัฏฐคช ชื่อดามพหัสดินทร์ ปัจจุบันพระเศวตภาสุรคเชนทร์ฯ ยืนโรง ณ โรงช้างต้น ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง

ประชาสัมพันธ์

เครื่องดื่มชาหมัก kombucha by scoby do it

(๙) พระเทพวัชรกิริณีฯ หรือ ”พระเทพวัชรกิริณี ดามพหัสดีพิษณุพงศ์ โสตถิธำรงวิสุทธิลักษณ์ อำนรรฆคุณสบสกนธ์ วิมลสารโสภิต พิบูลกิตติ์เลิศฟ้าฯ”

เป็นช้างพังเผือกลูกเถื่อน ชื่อ ”ขวัญตา” เกิดจากแม่ช้างป่าในป่ายางชุม ต.สองพี่น้อง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี นายสนิท ศิริวานิช กำนัน ต.เขาน้อย อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้นำมามอบให้พระครูโสภณพัฒนกิจ (พระปลัดบุญส่ง ธัมมปาโล) เจ้าอาวาสวัดเขาบันไดอิฐ อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี ตั้งชื่อว่า ”พังขวัญตา” และเลี้ยงไว้ที่วัดเขาบันไดอิฐ คู่กับพลายดาวรุ่ง (พระบรมนขทัศฯ) นายศุภโยค พาณิชย์วิทย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี น้อมเกล้าฯ ถวาย สมโภชขึ้นระวาง ณ จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๑ เป็นช้างสำคัญในตระกูลวิษณุพงศ์จำพวกอัฏฐคช ชื่อ ดามพหัสดินทร์ โดยพระเทพวัชรกิริณีฯ ย้ายไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จ.สกลนคร ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๘

(๑๐) พระบรมนขทัศฯ หรือ ”พระบรมนขทัศ วัชรพาหนพิษณุพงศ์ โสตถิธำรงอัฏฐคช ดิเรกยศอนันตคุณ อดุลยสารเลิศฟ้าฯ”
#เป็นช้างพลายเผือกเล็บครบลูกเถื่อน เกิดจากแม่ช้างป่า พระครูโสภณพัฒนกิจ (พระปลัดบุญส่ง ธัมมปาโล) เจ้าอาวาสวัดเขาบันไดอิฐ อ.เมือง จ.เพชรบุรี ได้มาจากราษฎร อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตั้งชื่อว่า “พลายดาวรุ่ง” และนำมาเลี้ยงไว้ที่วัดเขาบันไดอิฐ คู่กับพังขวัญตา (พระเทพวัชรกิริณีฯ) นายศุภโยค พาณิชย์วิทย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีเป็นผู้ น้อมเกล้าฯ ถวาย สมโภชขึ้นระวาง ณ จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๑ #เป็นช้างสำคัญในตระกูลวิษณุพงศ์ จำพวก อัฏฐคช ชื่อ ”ครบกระจอก” เป็นช้างที่มีเล็บครบ ๒๐เล็บ คือ เท้าละ ๕ เล็บ ทั้ง ๔ เท้า ปัจจุบัน #พระบรมนขทัศฯ ได้ล้มลงแล้ว

ทั้งนี้ นอกจากช้างไทยจะเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองแล้ว ยังมีคำกล่าวที่ว่า

   บ้านใดเมืองใดมีช้างเผือก จะบ่งบอกได้ถึงสัญลักษณ์แห่งความสงบสุข ร่มเย็น ความอุดมสมบูรณ์ เฉกเช่นเดียวกับประเทศไทยซึ่งถูกขนานนามว่าเป็น แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง

หมายความว่า  “คนในชาติ ที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ภายใต้หลักธรรม แห่งพระพุทธศาสนา อันจะนำมาซึ่งความมั่นคงสงบสุข และความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติสืบไป..”

อ้างอิงข้อมูล/ภาพโดย :   fb – มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม

 



Cultures of Fermented 
by Scoby Doit
Previous ArticleNext Article