ความเดิมจากตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้แนะนำให้ทุกท่านได้ รู้จักกับพื้นที่ กะดีจีน ในส่วนของโบสถ์ซางตาครู๊ส วันนี้อยากให้ทุกท่านได้รู้จั กพื้นที่ทางวัฒนธรรมแห่งนี้เพิ่ มเติมในส่วนของ ศาลเจ้าอันเก่ าแก่ และวัดวาอารามของพุทธศาสนิกชน เป็นวัดหลวงที่สำคัญอีกแห่ งของประเทศไทย พื้นที่ใกล้เรือนเคียง ถัดจากโบสถ์ซางตาครู๊สไปเพี ยงเล็กน้อย เป็นที่ตั้ งของศาลเจ้าจีน ซึ่งมีความเก่าแก่มากที่สุดอี กแห่งหนึ่ง ของประเทศไทย ศาลเจ้าที่ว่านี้คือ ศาลเจ้าเกียนอันกง ที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์ เจ้าแม่กวนอิม ซึ่งมีที่มาว่า ชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพตามสมเด็ จพระเจ้าตากสินมหาราชมาตั้งถิ่ นฐานที่คลองบางหลวงหรือ คลองบางกอกใหญ่เป็นผู้สร้างขึ้น
ศาลเจ้าเกียนอันกงหลังเล็กๆ แต่ความประณีต และความวิจิตรงดงามที่ช่างฝีมื อชาวจีนฮกเกี้ยนสร้างนั้นมีความโดดเด่นและงดงาม เครื่องไม้แกะสลักที่ประดับประดาในศาลเจ้าเป็นเพชรเม็ดงามแห่งสถาปัตยกรรมจีนของฝั่งธนบุรี นับเป็นศาลเจ้าอายุกว่าร้อยปีที่เก่าแก่ที่สุดของฝั่งธนบุรีอีกด้วย
…. แรกเริ่ม ศาลเจ้าแห่งนี้มีอยู่ 2 หลังที่อยู่ติดกันคือ ศาลเจ้าโจวซือกง และศาลเจ้ากวนอู แต่ศาลเจ้าทั้ง ๒ มีความเก่าแก่และทรุดโทรมเป็ นอย่างมาก ในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้ าอยู่หัว ได้มีชาวจีนจากมณฑลฮกเกี้ยน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของ สกุลตันติเวชกุล และ สกุลสิมะเสถียร ได้เดินทางมากราบไหว้ที่ศาลเจ้ าทั้งสองนี้ และได้เห็นถึงความทรุ ดโทรมจนยากที่จะบูรณะหรือซ่ อมแซมใหม่ ทั้ง ๒ ท่าน จึงได้ตัดสินใจสร้างศาลเจ้าขึ้ นใหม่ให้เป็นศาลเดียว และได้เปลี่ยนองค์พระประธานเป็ นเจ้าแม่กวนอิม ในช่วงแรกๆ ยังมีคณะสงฆ์จากจีนมาจำพรรษา จึงเรียกว่า กุฎิจีน และต่อมาชาวไทยเรียกเพี้ยนกั นไปมากลายเป็นชื่อ กุฎีจีน ที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบันค่ะ
ความสวยงามต้องมนต์ขลั งของศาลเจ้าอันเก่าแก่แห่งนี้ ไม่ใช่มีเพียงแค่เครื่องไม้ แกะสลัก ที่ประดับประดาอยู่ทุกส่ วนของศาลเจ้าที่ยิ่งพินิจ ยิ่งชวนตะลึงเพียงเท่านั้น แต่เป็นความเก่า ความขลังของการอนุรักษ์สิ่งเดิ มๆ ไว้อย่างเดิมทุกประการ ไร้การแต่งแต้มสีสันใหม่ๆ ที่มาเคลือบลงบนงานไม้ จนบดบังเอกลักษณ์ชิ้นงานที่น่ าชม แม้ภาพรวมจะดูเก่า แต่ศาลเจ้ากลับดูสะอาดสะอ้าน ทุกอย่างมีการจัดการดูแลอย่างเป็ นระเบียบ รอยเขม่าจากควันธูปที่ผ่ านกาลเวลาแห่งศรัทธามาอย่ างยาวนาน ก็ยังคงมีให้เห็นอยู่
KOMBUCHA BY SCOBY DO IT เครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการหมัก มีสรรพคุณทางยา โดยมี “จุลินทรีย์ โพรไบโอติก Probiotics” ที่เป็นพระเอกของเครื่องดื่มชนิดนี้ ภายในศาลเจ้ามีความสงบ เหมาะกับการสวดมนต์ นั่งสมาธิเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ที่นี่ยังแตกต่ างจากศาลเจ้าทั่วไป ที่ไม่ได้มีวัตถุบูชาให้เช่า นั่นเป็นเพราะเจตนาของคนในพื้ นที่ที่ดูแล เน้นการชำระจิตใจให้สะอาดมากกว่ าการยึดถือวัตถุเป็นสิ่งยึดเหนี่ ยวทางจิตใจ
ภายในศาลเจ้า หากมาในจังหวะดีๆ อาจจะได้เจอค้างคาว ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ เจ้าถิ่นที่ผู้เขียนก็มั่นใจว่ าอยู่กันมายาวนานไม่แพ้ชาวบ้ านกุฎีจีนแน่นอนค่ะ หากถามว่าทำไมแถบนี้จีงมีค้างค้ าวอาศัย ?
ก่อนความเจริญจะมาเยือน ลักษณะพื้นที่เป็นสวนผลไม้ มากมาย ย้อนกลับไปหลายสิบปีก่อน พื้นที่ฝั่งธนบุรี โดยเฉพาะในแถบย่านนี้ ก่อนความเจริญจะมาเยือน ลักษณะพื้นที่เป็นสวนผลไม้ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวนผลไม้ทั้ งทุเรียน มะพร้าว ลำไย ลิ้นจี่ฯลฯ ที่ผลิดอก ออกผลสมบูรณ์มาก เนื่องจากดินดีและมีความสมบูรณ์ มาก ในสมัยก่อนจัดว่าดินแถวนี้เป็ นดินกร่อย เป็นที่สะสมของสารอาหารมากมาย เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากอ่าวไทย จึงมีความสมบูรณ์อีกทั้งยั งเคยมีป่าโกงกาง ระบบนิเวศน์จึงจัดว่าสมบูรณ์เป็ นอย่างมาก ดินดี ปลูกอะไรจึงได้ผลดี สัตว์น้ำ สัตว์ปีกย่อมชุกชุม จึงเป็นที่มาว่าเหตุใดจึงมีค้ างคาวอาศัยอยู่เป็ นจำนวนมากในแถบนี้ แม้ในปัจจุบัน ความเจริญมาเยือน สวนผลไม้หายไปแต่สำหรับศาลเจ้ าที่พักพิงสุดท้ายของค้างคาวยั งอยู่ เราจึงยังพบเห็นเจ้าสัตว์มีหู หนูมีปีกนั่นเองค่ะ
การได้กลั บมาไหว้ศาลเจ้าเกียนอันกง เสมือนได้เปิดประตูทวิภพแห่งอดี ต
ศาลเจ้าอันเก่าแก่ แห่งนี้จึงเป็นประวัติ ศาสตร์ที่มีชีวิต สัมผัสได้ถึงความทรงจำและช่ วงเวลาแห่งอดีต มีอากง อาม่า ผู้สูงวัยเคยบอกไว้ว่าการได้กลั บมาไหว้ศาลเจ้าเกียนอันกง เสมือนได้เปิดประตูทวิภพแห่งอดี ต เพราะทุกอย่างในศาลเจ้าแห่งนี้ ยังคงเดิมเช่นทุกอย่าง ไม่ว่าวันเวลาจะผ่านไปนานเท่าใด แต่ความศรัทธายังคงเดิม ร่องรอยแห่งอดีตก็ยังคงเดิม ประตูศาลเจ้าแห่งนี้ คือ ประตูสู่อดีต เมื่อไหร่ก็ตามที่พวกเขาคิดถึ งอดีต ที่นี่มักจะมีคำตอบให้พวกเขาได้ รำลึกถึงเสมอ
ออกจากศาลเจ้าเกียนอันกง ทางด้านซ้ายมือจะมีทางเดินเล็กๆ เพื่อลัดเลาะต่อไปยังศาสนสถานที่ สำคัญยิ่งของชาวพุทธ มีความเป็นมา ตั้งแต่ครั้งตั้งกรุงรัตนโกสิ นทร์ ที่แห่งนี้ก็คือ วัดกัลยาณมิตร เราจะมาพูดคุยกันในตอนต่อไปนะคะ
โปรดติดตาม วัดไทยริมแม่น้ำเจ้าพระยา วัดที่มีต้นแบบจากวัดพนัญเชิง แห่งกรุงศรีอยุธยาค่ะ
เรียบเรียง โดย : เอกชฎา ศรีสุวรรณ์
ข้อมูลอ้างอิง : ศาลเจ้าเกียนอันเกง ไทยสามก๊ก www.thaisamkok.com เกียนอันเกง เมื่อรักและศรัทธามาบรรจบ สารคดี: www.sarakadee.com/2012/07/06/ kianankeng วิกิพีเดีย ศาลเจ้าเกียนอันเกง พระโพธิสัตว์เกียนอันเกง ศาลเจ้าเกียนอันเกง Oknation รฦกธนบุรี นิทรรศการภาพ รพ.สมเด็จเจ้าพระยา
Cultures of Fermented
by Scoby Doit
Related