หัวหิน เมืองเล็กๆ ที่ไม่มีคนรู้จัก จวบจนกระทั่งกาลเวลาผ่านช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ มาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “หัวหิน ” ก่อนที่จะมีชื่อเสียงโด่งดังเป็ นที่รู้จักเช่นทุกวันนี้ ในอดีตนั้น เคยเป็นสถานที่พั กตากอากาศของพระบรมวงศานุวงศ์ ชาวต่างชาติ ขุนน้ำขุนนางมากมายในช่วงรัชสมั ยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้ าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ ๖ แห่งราชวงศ์จักรี การเดินทางในยุคนั้น ค่อนข้างลำบากและใช้เวลานานนั บหลายชั่วโมงกว่าจะเดินทางไปถึง เส้นทางรถไฟจากสถานีกรุงเทพฯ – หัวหิน จึงเป็นเส้นทางที่ได้รับความนิ ยมมากที่สุดในช่วงเวลานั้น
หัวหิน เมืองเล็กๆ ที่ไม่มีคนรู้จัก จวบจนกระทั่งกาลเวลาผ่านช่ วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ มาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็ จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ สิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้โดยเสด็จมาเยี่ยมเยือนพสกนิ กรมายังอำเภอหัวหิน ทั้ง ๒ พระองค์เสด็จมาประทับ ณ วังไกลกังวล ไปพร้อมๆ กับการเสด็จไปยังพื้นที่ท้องถิ่ นทุรกันดารของเมืองหัวหิน ซึ่งแต่ละพื้นที่ในช่วงเวลานั้น มีแต่ความยากลำบาก บางพื้นที่ต้องลุยน้ำ ลุยเขา ยิ่งเส้นทางลำบากมากเท่าไหร่ ทั้ง ๒ พระองค์ ยิ่งมีพระราชปณิธาณ มุ่งมั่นที่จะเสด็จให้ถึงจนได้ เพราะทุกพื้นที่ พระองค์ทรงรู้ดีว่ามีพสกนิ กรไทยอาศัยอยู่ และความเจริญยังเข้าไม่ถึง ความยากลำบากในการใช้ชีวิตจึ งอยู่อย่างลุ่มๆ ดอนๆ
ครั้งหนึ่งทรงเสด็จถึงพื้นที่ เขาเต่า ในเขตตำบลหนองแก อ .หัวหิน จ .ประจวบคีรีขันธ์ ที่นี่เป็นหมู่บ้านที่มี ประชากรอยู่กันอย่างหนาแน่น ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาถึงหมู่ บ้านเขาเต่าด้วยความทุลักทุเล เนื่องจากพื้นที่แห้งแล้ง และทุรกันดารเป็นอย่างมาก ทรงพบว่าชาวบ้านขาดน้ำกินน้ำใช้ เป็นอย่างมาก อาหารการกิน พืชผักก็ไม่ค่อยมี เนื่องจากเป็นพื้นที่แห้งแล้ง เพาะปลูกอะไร ก็ไม่ใคร่ได้ผลผลิตที่ดีงามนัก ทรงทอดพระเนตรพื้นที่ โดยรอบและริเริ่มโครงการอ่างเก็ บน้ำเขาเต่าในพระราชดำริขึ้ นในปีพุทธศักราช ๒๕๐๕ อ่างเก็บน้ำเขาเต่า จึงเป็นโครงการในพระราชดำริ ของพระองค์ ทำให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ ดีขึ้นนับจากโครงการก่อสร้ างเสร็จ นับเป็นโครงการตามพระราชดำริแห่ งแรกของกรมชลประทาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำพิธีเจิมเสาเข็มพืดท่อระบายน้ำ เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2506 ทั้ง ๒ พระองค์ยังทรงทอดพระเนตรเห็ นความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง และเกษตรกรรมว่า หากในช่วงหน้ามรสุม ชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชี พประมง จะไม่สามารถออกเรือเพื่อหาปลา และสร้างรายได้ให้กับครอบครั วได้เลย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิ พลอดุลยเดช จึงมีแนวคิดที่ต้องการส่งเสริ มให้ชาวบ้านในละแวกนี้ ได้เรียนรู้การทอผ้าเพื่อเป็ นอาชีพเสริม ทรงส่งเสริมให้ชาวบ้านทอผ้าด้ วยกี่กระตุก โดยมีสมเด็จพระนางเจ้าฯ สิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ จัดหาครูมาช่วยสอนชาวบ้าน และถ่ายทอดวิชาความรู้เกี่ยวกั บ การทอผ้า ย้อมสีผ้า การขึ้นลาย การตัดเย็บ โดยให้หญิงสาวชาวบ้านได้มีอาชี พเสริมเพื่อเลี้ยงครอบครัวได้ พร้อมกับจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทอผ้ าทุกอย่างให้กับกลุ่มชาวบ้าน
นอกจากนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ยังส่งเสริมให้ชาวบ้านได้รู้จั กกับป่านศรนารายณ์ และการสร้างผลิตภัณฑ์จากป่ านศรนารายณ์ด้วยเช่นกัน จนทำให้กลายเป็นสินค้าที่มีชื่ อเสียงประจำจังหวัด นับจากปีพุทธศักราช ๒๕๐๘ เป็นต้นมา ลูกหลานในหมู่บ้านเขาเต่าจึงได้ ประกอบอาชีพทอผ้าเรื่อยมา โครงการนี้จึงนับเป็ นโครงการในพระราชกรณียกิจที่ส่ งเสริมงานหัตถกรรมให้กับชาวบ้ านเป็นแห่งแรก ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงริเริ่มขึ้น
ปัจจุบันกลุ่มทอผ้าเขาเต่า ได้รับการเรียกชื่ออย่างเป็ นทางการว่า กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านเขาเต่ าในโครงการพระราชดำริ มีผลงานการทอผ้าประเภทผ้าฝ้ ายเป็นสินค้าหลัก ลวดลายเอกลักษณ์ที่บ่งบอกว่า งานทอผ้านั้นมาจากหมู๋บ้ านเขาเต่า ก็คือ ลายเต่า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์งานทอของที่นี่ นอกจากนี้ก็ยังมีลวดลายอื่นๆ อาทิ เช่น ลายบานชื่น ลายดาหลา และลายแก้วสุวรรณสาร ซึ่งจัดเป็นกลุ่มงานทอยกดอกที่ เพิ่มมูลค่าได้มากที่สุด
ไม่เพียงแต่ผ้าทอยกดอกเท่านั้น แต่ทางกลุ่มสตรีผ้าทอบ้านเขาเต่ า ยังมีผลิตภัณฑ์ผ้าทออื่นๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น ผ้าขาวม้า ผ้าทอสีพื้น ซึ่งจำหน่ายเป็นเมตร มีทั้งแบบลวดลายและแบบสีพื้น เป็นต้น กลุ่มผลิตภัณฑ์งานผ้าทอของที่นี่ เน้นคุณภาพงานผ้าฝ้ายที่คั ดสรรมาเป็นอย่างดีทั้งคุ ณภาพและวัตถุดิบ เป็นเนื้อผ้าที่มากด้วยคุณภาพ จนได้รับการคัดสรรเป็นสินค้ าประจำจังหวัดที่นักท่องเที่ ยวชาวต่างชาติรู้จักดี
ผลิตภัณฑ์ผ้าทอจากบ้านเขาเต่า ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพั ฒนาการทอมาโดยตลอด มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ ามาใช้ในการทอ ทำให้ผลิตภัณฑ์ผ้าทอของที่นี่ สวมใส่สบาย หน้าร้อนก็ใส่ได้ และในช่วงฤดูหนาว ก็ใส่สบาย เนื้อสัมผัสนุ่ม อีกทั้งใยผ้ายังช่วยเพิ่ มความอบอุ่นให้กับร่างกายได้อี กด้วย
กลุ่มทอผ้าบ้านเขาเต่า ปัจจุบันยังเปิดเป็นศูนย์ข้อมู ลในการให้ความรู้ด้านการทอผ้ าเนื่องในพระราชดำริ แก่ผู้สนใจ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป อีกด้วย หากท่านใดสนใจ อยากเรียนรู้งานผ้าฝ้ายทอมือคุ ณภาพเยี่ยม ที่มาจากน้ำพระทัยอันยิ่งใหญ่ ของพระเจ้าอยู่หัว และพระราชินี สามารถแวะไปเที่ยวชม หรือ สอบถามกับศูนย์ได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 08-9260-0867 หรืออยากเข้าไปนั่งฟังความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับผ้าฝ้ายทอมือบ้ านเขาเต่า ทางศูนย์จะเปิดอบรมให้แก่ผู้ สนใจ และเยาวชนโรงเรียนบ้านเขาเต่ าเป็นประจำในทุกวันอังคาร
กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านเขาเต่า จึงเป็นกลุ่มชาวบ้านอีกกลุ่มที่ โชคดีที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุ ณอันหาที่สุดมิได้ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภู มิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ สิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ อาชีพทอผ้าของพวกเขา คือ อาชีพพระราชทาน ที่สร้างความยั่งยืนทั้งความเป็ นอยู่ และความสุขทางใจ ที่หาที่ใดเปรียบไม่ได้อีก อีกทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้ นของการสร้างความเจริญให้กับเมื องหัวหินในเวลาต่อมา
“ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นพิภพนั้นมีอยู่อย่างจำกัด ในขณะที่ประชากรของโลกได้เพิ่มจำนวนอย่างมากมายและรวดเร็ว ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเกิดการขาดแคลน และทำให้การดำเนินชีวิตในโลกใบนี้ยากลำบากขึ้นทุกวัน ภาวะเช่นนี้มิใช่จะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว หากแต่จะต้องเป็นไปโดยตลอด และอาจทวีความรุนแรงขึ้นต่อไป… ต่างฝ่ายตั้งใจที่จะค้ำจุนกัน ช่วยเหลือคนละไม้ละมือ ก็พอที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสะดวกสบาย”
พระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เกี่ยวกับการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2518
อ้างอิง
ประชาสัมพันธ์
ค่าดัชนีกันแดด UPF50+ เป็นระดับการป้องกันแสงแดดที่สูงที่สุดในโลก ปิดกั้นรังสียูวี ได้ถึง 98% ป้องกันผิวแดง มะเร็งผิวหนัง และการเกิดริ้วรอย www.prachuaptown.com/travel/ huahin/Kao-Tao.php
http://www.matichon.co.th
คมชัดลึก
กลุ่มทอผ้าบ้านเขาเต่า Thaitambon.com
Facebook: ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าบ้านเขาเต่า
เขาเต่า OTOP
Cultures of Fermented
by Scoby Doit
Related