Thai Book Review แนะนำหนังสือ, Uncategorized

ชีวิตอุทิศเพื่อสยาม แห่งโรงเรียนแพทย์หลวงไทย

Mcfarland-book-siam

        คงมีน้อยคนนักที่จะทราบว่าการก่อกำเนิดขึ้นของโรงเรียนแพทย์หลวง หรือ ราชแพทยาลัย โรงพยาบาลศิริราช นั้น มีชาวต่างชาติท่านหนึ่งที่ได้มีส่วนในการก่อตั้งขึ้น ชาวต่างชาติท่านนี้มีนามว่า นพ.จอร์จ บี.แม็คฟาร์แลนด์ หรือ อำมาตย์เอก พระอาจวิทยาคม  ท่านเป็นชาวอเมริกันที่เติบโตท่ามกลางบรรยากาศท้องทุ่งและไร่นาในจังหวัดเพชรบุรี เมื่อครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5

ชาวต่างชาติผู้เป็นอิฐก้อนแรกแห่งโรงเรียนแพทย์หลวงไทย

นพ.จอร์จ บี.แม็คฟาร์แลนด์ จึงมีความเป็นสยาม 100% และที่สำคัญกว่าสิ่งอื่นใด คือ ความรักในแผ่นดินสยาม ที่ท่านยกย่อง และเทิดทูนพระมหากษัตริย์ไทยว่าเป็นที่สุดของดวงใจของเขา

Mcfarland-book-siam-body      นพ.จอร์จ บี.แม็คฟาร์แลนด์ ได้มีโอกาสย้ายถิ่นฐานเข้ามาพำนักในพระนคร เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคุณพ่อของท่านให้มาดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ ณ โรงเรียนหลวงแห่งแรก ในกรุงเทพมหานคร นพ.จอร์จ บี.แม็คฟาร์แลนด์ มีความขยัน ใฝ่รู้ และรักการเรียน ท่านได้เลือกเรียนต่อทางด้านการแพทย์ และเรียนจบทั้งทางด้านอักษรศาสตร์ ทันตแพทย์ และศัลยแพทย์ จากมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากที่ท่านจบการศึกษาแล้ว จึงได้กลับมายังสยามประเทศ และได้เป็นอาจารย์ใหญ่ เช่นเดียวกับพ่อของท่านที่โรงเรียนแพทย์หลวง หรือ ราชแพทยาลัย โรงพยาบาลศิริราช

ในช่วงเวลาแห่งการสร้างและเริ่มต้นโรงเรียนแพทย์หลวงแห่งแรกนั้น นพ.จอร์จ บี.แม็คฟาร์แลนด์ มีความพยายาม มานะและอดทนเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยในสมัยนั้นการศึกษายังไม่ก้าวหน้า ประชาชนที่รู้การศึกษาน้อยมาก และยังมีปํญหาเรื่องการอ่านออก เขียนได้ นอกเหนือจากนั้น การแพทย์แผนตะวันตกยังไม่เป็นที่นิยมของชาวสยามในเวลานั้น เนื่องจากยังนิยมและเชื่อมั่นในแพทย์แผนไทยมากกว่า แต่ท่านก็ได้ทุ่มเท ทั้งแรงกายและแรงใจ สร้างความเข้าใจและเผยแพร่การแพทย์สมัยใหม่ให้ชาวสยามได้รู้จักโดยการเรียบเรียงตำราแพทย์ และบัญญัติคำศัพท์แพทย์ขึ้นใช้เป็นคนแรกของสยาม ทำให้ชาวสยามได้รู้จักแพทย์แผนตะวันตกมากขึ้น และได้ยกย่องท่านในขณะนั้นว่า เป็นบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน และมีสมญานามว่า เป็นอิฐก้อนแรกของโรงเรียนแพทย์


 

นพ.จอร์จ บี แม็คฟาร์แลนด์ ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ จวบจนกระทั่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเข้ามารับช่วงต่อ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ท่านกำลังจะเกษียณราชการ

หลังจากที่ท่านเกษียณอายุราชการแล้ว ท่านยังคงไม่หยุดนิ่ง ยังใฝรู้และยังคงมีความปรารถนาดีต่อชาวสยาม ที่ต้องการจะนำพาเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาให้ชาวสยามได้รู้จักและเรียนรู้ หากจะกล่าวถึงพิมพ์ดีดไทยที่เราใช้กันทุกวันนี้ คุณทราบหรือไม่คะว่า นพ.จอร์จ บี.แม็คฟาร์แลนด์   เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยขึ้น  โดยปรึกษาและค้นคว้ากับพนักงานบริษัท 2 คนคือ นายสวัสดิ์ มากประยูร และนายสุวรรณประเสริฐ เกษมณี (กิมเฮง) ใช้เวลา 7 ปีก็วางแป้นอักษรใหม่สำเร็จ ใน พ.ศ. 2474   สามารถพิมพ์ได้ถนัดที่สุดและรวดเร็วที่สุด ให้ชื่อว่าแบบ “เกษมณี” และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ ต่อมามีการศึกษาพบว่า เครื่องพิมพ์ดีดแบบเกษมณียังมีข้อบกพร่อง และได้มีการคิดวางแป้นอักษรใหม่ ใช้ชื่อว่า “ปัตตะโชติ” ซึ่งสภาวิจัยแห่งชาติตรวจสอบแล้วว่าสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าแบบเดิมประมาณ 25.8%

Ketmanee

ตัวอักษรไทย รวมถึงสระและวรรณยุกต์ที่เราคุ้นเคยอยู่บนแป้นพิมพ์ดีด และคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ คือ ผลงานการคิดค้นของท่าน ยิ่งไปกว่านั้นท่านยังจัดทำพจนานุกรม ภาษาไทย-อังกฤษ ฉบับมาตรฐาน พิมพเผยแพร่และให้ความรู้แก่ประชาชนอีกด้วย

แป้นพิมพ์เกษมณี เป็นผังแป้นพิมพ์ภาษาไทย คิดค้นโดยคุณสุวรรณประเสริฐ เกษมณี ซึ่งถูกสร้างมาเพื่อใช้กับเครื่องพิมพ์ดีด (ซึ่งไม่มี ฃ/ฅ) ไม่ใช่กับคอมพิวเตอร์โดยตรง โดยในตอนแรกผังแป้นพิมพ์นี้ถูกเรียกว่า “แบบมาตรฐาน” เนื่องจากเป็นผังแป้นพิมพ์แบบแรกๆ ที่ถูกใช้ ต่อมาได้ถูกเรียกว่า แป้นพิมพ์เกษมณีจากผู้ร่วมงาน เนื่องจาก คุณสฤษดิ์ ปัตตะโชติ ได้นำเสนอผังแป้นพิมพ์แบบใหม่ ที่เรียกว่าแป้นพิมพ์ปัตตะโชติ

ปัจจุบัน แป้นพิมพ์เกษมณีถูกนำไปพัฒนาเป็นแป้นพิมพ์ของคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม

ประชาสัมพันธ์

รองเท้า anta StreetPlay Lite Women

ชีวิตอุทิศเพื่อสยาม
ผู้เขียน: เบอร์ธ่า เบล๊านท์ แม็คฟาร์แลนด์ ผู้แปล: เด็กวัฒฯ รุ่น 100 รายละเอียดหนังสือ ISBN : 9786163748263 (ปกอ่อน) 336 หน้า
อุทิศเพื่อสยาม
หลุมฝังศพของ พระอาจวิทยาคม

   “ชีวิตอุทิศเพื่อสยาม” เล่มนี้ จึงเป็นหนังสือที่มากด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ไม่เพียงแต่ให้ความรู้ทั่วไปเชิงประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ในเรื่องราวของเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของการใช้ชีวิตของท่าน ก็สมควรนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต ท่านยังเป็นบุคคลที่อ่อนน้อม ถ่อมตน ถึงจะมีภาพลักษณ์เป็นชาวต่างชาติ ที่อาจจะดูขัดหูขัดตากับชาวสยามในสมัยนั้น แต่ท่านก็เป็นคนเรียบง่าย สมถะ มีมนุษยสัมพันธ์และความปรารถนาที่ดีกับทุกคน โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง เรื่องราวในเล่มนี้ยังอธิบายให้เห็นถึงสภาพบรรยากาศบ้านเมือง สังคม ประเพณี พิธีกรรม ทั้งในต่างจังหวัด และในกรุงเทพมหานคร ณ ช่วงเวลานั้น ทำให้มองเห็นภาพสังคมชาวสยามสมัยพระพุทธเจ้าหลวงได้เด่นชัดขึ้น รวมถึงการดำเนินการก่อตั้งโรงเรียนแพทย์หลวงขึ้นเป็นอีกแห่งแรกของสยามประเทศอีกด้วย

ชีวิตของท่านในบั้นปลาย แม้ฟังดูอาจจะรู้สึกหดหู่ เพราะท่านถึงแก่กรรมด้วยอาการเจ็บไข้ได้ป่วย ในขณะที่ท่านอยู่ในฐานะเชลยสงคราม และยังถูกกักบริเวณ แต่ทั้งนี้ ท่านก็ไม่เคยคิดเสียใจกับสิ่งที่ท่านได้อุทิศทั้งแรงกายและใจเพื่อแผ่นดินไทยที่ท่านรัก ท่านถึงแก่กรรมอย่างสงบในวัย 75 ปี ณ บ้านของท่าน

แล้วคุณล่ะคะ ความเป็นชนชาติไทยเต็มร้อยในวันนี้ คุณเริ่มต้นทำดีเพื่อผู้อื่นแล้วหรือยัง หนังสือเล่มนี้มีคำตอบให้กับทุกๆคน ที่หวงแหน และรักในแผ่นดินถิ่นเกิด เป็นหนังสือที่อ่านแล้ว ได้ทั้งแรงกระตุ้นทางกาย และจิตวิญญาณ อีกทั้งยังตอกย้ำให้เห็นชัดเจนว่า การทำความดีนั้นย่อมส่งผลอยู่เสมอ แม้ตัวจากไป แต่คุณงามความดี คือ ผลกรรมดีที่จะคงอยู่ให้กล่าวถึงนิจนิรันตร์

ราคา:     390.00 บาท
ผู้เขียน:     เบอร์ธ่า เบล๊านท์ แม็คฟาร์แลนด์
ผู้แปล:     เด็กวัฒฯ รุ่น 100
รายละเอียดหนังสือ ISBN : 9786163748263 (ปกอ่อน) 336 หน้า
ขนาดรูปเล่ม : 145 x 209 x 18 มม.
น้ำหนัก : 365 กรัม
เนื้อในพิมพ์ : ขาวดำ

อ้างอิง
วิกิพีเดีย ชีวประวัติพระอาจวิทยาคม
http://gigcomputer.net
https://th.wikipedia.org
http://www.roofimon.com



Cultures of Fermented 
by Scoby Doit
Previous ArticleNext Article