หยิบหนังสือมานั่งอ่าน พร้อมจิบ Caramel Macchiato ด้วย เพลิดเพลินจริงๆครับ เล่มนี้ให้รายละเอียดมาก สมกับที่ผมตั้งใจและอยากอ่านเรื่องราวของระบบกษัตริย์ในพม่า แนะนำหนังสือ ราชบัลลังก์พม่า วาระสุดท้ายแห่งระบบกษัตริย์ เป็นเล่มที่เขียนโดย ศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียร พันธรังสี ราชบัณฑิต
ศาสตราจารย์พิเศษเสฐียร ท่านเป็นผู้รอบรู้และเชี่ยวชาญที่ทรงคุณวุฒิอีกท่านของประเทศไทย เคยได้รับเลือกให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม สาขามนุษยศาสตร์ และได้รับพระราชทานโล่เกียรติยศจากสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีด้วยครับ ศาสตราจารย์เสฐียรถึงแก่มรณกรรมไป 24 ปีแล้ว แต่ผลงานท่านยังคงอยู่ และนักอ่านหลายท่าน หากได้อ่าน จะทราบได้่ว่าผลงานของท่านแต่ละเล่มครบเครื่อง ลงลึก และครบรส อ่านง่ายมากครับ
ท่านเริ่มเขียนตั้งแต่สมัยพระเจ้ามินดง จนถึงวาระสุดท้ายของระบอบกษัตริย์ในสมัยพระเจ้าธีบอ อ่านแล้วทำให้เราได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของพม่า รูปแบบการปกครอง ยิ่งในบทที่บรรยายถึงความโหดร้ายของพระเจ้าธีบอและพระนางศุภยาลัต อ่านแล้วถึงกับอึ้งในความเหี้ยมโหดของการสังหารเชื้อพระวงศ์ด้วยกัน เพียงเพื่อต้องการบัลลังก์ แต่สุดท้ายก็ต้องสิ้นท่าแก่ประเทศอังกฤษ ซึ่งในตอนประหารนี้ ผมอ่านมาหลายเล่ม มีเล่มนี้ที่บรรยายได้ละเอียด อ่านแล้วรู้สึกสยองครับ เรื่องราวในเล่มอ่านสนุก ได้ความรู้ในเชิงลึก หากท่านชอบเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พม่า ผมแนะนำเลยครับ
หนังสือแนะนำ เล่มนี้ เป็นหนังสือเก่าพิมพ์ครั้งแรก ไม่แน่ใจว่าปีไหนครับ แต่พิมพ์ครั้งที่ เมื่อปี พ.ศ.2498 และเล่มนี้คือ เล่มที่พิมพ์ครั้งที่ 5 ปี พ.ศ.2551 ครับ ลองหาอ่านกันดูครับ หากท่านชอบเรื่องราวประวัติศาสตร์พม่า สนใจอยากรู้ในรายละเอียดมากๆ เป็นอีกเล่มที่ไม่ผิดหวังครับ
สงครามกับอังกฤษและการล่มสลายของราชอาณาจักรพม่า
สืบเนื่องจากการพยายามขยายอำนาจของอังกฤษ กองทัพอังกฤษได้เข้าทำสงครามกับพม่า
ในปี พ.ศ. 2367 สงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่หนึ่งนี้ (พ.ศ. 2367–2369) ยุติลงโดย …
….. อังกฤษเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ฝ่ายพม่าจำต้องทำสนธิสัญญายันดาโบ (Yandaboo) กับอังกฤษ ทำให้ พม่าต้องสูญเสียดินแดนอัสสัม ม ณีปุระ ยะข่าย และตะนาวศรีไป ซึ่งอังกฤษเริ่มก็ต้นตักตวงทรัพยากรต่างๆ ของพม่านับแต่นั้น เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับวัตถุดิบที่จะป้อนสู่สิงคโปร์ สร้างความแค้นเคืองให้กับทางพม่าเป็นอย่างมาก กษัตริย์องค์ต่อมาจึงทรงยกเลิกสนธิสัญญายันดาโบ และทำการโจมตีผลประโยชน์ของฝ่ายอังกฤษ ทั้งต่อบุคคลและเรือ เป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่สอง ซึ่งก็จบลงโดยชัยชนะเป็นของอังกฤษอีกครั้ง หลังสิ้นสุดสงครามครั้งนี้ อังกฤษได้ผนวกหงสาวดีและพื้นที่ใกล้เคียงเข้าไว้กับตน โดยได้เรียกดินแดนดังกล่าวเสียใหม่ว่าพม่าตอนใต้ สงครามครั้งนี้ก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในพม่า เริ่มต้นด้วยการเข้ายึดอำนาจโดยพระเจ้ามินดง (Mindon Min, ครองราชย์ พ.ศ. 2396–2421) จากพระเจ้าปะกัน (Pagin Min, ครองราชย์ พ.ศ. 2389–2396) ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระชนนี พระเจ้ามินดงพยายามพัฒนาประเทศพม่าเพื่อต่อต้านการรุกรานของอังกฤษ พระองค์ได้สถาปนากรุงมัณฑะเลย์ ซึ่งยากต่อการรุกรานจากภายนอก ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการรุกรานจากอังกฤษได้
รัชสมัยต่อมา พระเจ้าธีบอ (Thibow, ครองราชย์ พ.ศ. 2421–2428) ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้ามินดง ทรงมีบารมีไม่พอที่จะควบคุมพระราชอาณาจักรได้ จึงทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นไปทั่วในบริเวณชายแดน ในที่สุดพระองค์ได้ตัดสินพระทัยยกเลิกสนธิสัญญากับอังกฤษที่พระเจ้ามินดงได้ ทรงกระทำไว้ และได้ประกาศสงครามกับอังกฤษเป็นครั้งที่สามในปีพุทธศักราช 2428 ผลของสงครามครั้งนี้ทำให้อังกฤษสามารถเข้าครอบครองดินแดนประเทศพม่าส่วนที่ เหลือเอาไว้ได้
ภาพใบหน้า แบบชัดๆ ของ พระเจ้าธีบอ (พม่า: သီပေါမင်း ตีบอมี่น) กับ มเหสีทั้ง ๒ พระนางศุภยาจี และ พระนางศุภยาลัต เครดิตภาพ : fb May Myint Mo
ภาพใบหน้า แบบชัดๆ ของ พระเจ้าธีบอ (พม่า: သီပေါမင်း ตีบอมี่น) กับ มเหสีทั้ง ๒ พระนางศุภยาจี และ พระนางศุภยาลัต
เครดิตภาพ : fb May Myint Mo pic.twitter.com/rU7F7UAdIA
— . (@miscthailand) September 6, 2020