Thai Book Review แนะนำหนังสือ

กะดีจีน เพชรเม็ดงามแห่งการผสมผสานทางวัฒนธรรม ตอนที่ ๒

    ความเดิมจากตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้แนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกับพื้นที่ กะดีจีน ในส่วนของโบสถ์ซางตาครู๊ส  วันนี้อยากให้ทุกท่านได้รู้จักพื้นที่ทางวัฒนธรรมแห่งนี้เพิ่มเติมในส่วนของ ศาลเจ้าอันเก่าแก่ และวัดวาอารามของพุทธศาสนิกชน เป็นวัดหลวงที่สำคัญอีกแห่งของประเทศไทย

      พื้นที่ใกล้เรือนเคียง ถัดจากโบสถ์ซางตาครู๊สไปเพียงเล็กน้อย เป็นที่ตั้งของศาลเจ้าจีน  ซึ่งมีความเก่าแก่มากที่สุดอีกแห่งหนึ่ง ของประเทศไทย ศาลเจ้าที่ว่านี้คือ  ศาลเจ้าเกียนอันกง ที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์ เจ้าแม่กวนอิม ซึ่งมีที่มาว่า ชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพตามสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาตั้งถิ่นฐานที่คลองบางหลวงหรือ คลองบางกอกใหญ่เป็นผู้สร้างขึ้น

    ศาลเจ้าเกียนอันกงหลังเล็กๆ แต่ความประณีต และความวิจิตรงดงามที่ช่างฝีมือชาวจีนฮกเกี้ยนสร้างนั้นมีความโดดเด่นและงดงาม เครื่องไม้แกะสลักที่ประดับประดาในศาลเจ้าเป็นเพชรเม็ดงามแห่งสถาปัตยกรรมจีนของฝั่งธนบุรี นับเป็นศาลเจ้าอายุกว่าร้อยปีที่เก่าแก่ที่สุดของฝั่งธนบุรีอีกด้วย

ศาลเจ้าเกียนอันเกง ศาลเจ้าอันเก่าแก่

 ….     แรกเริ่ม ศาลเจ้าแห่งนี้มีอยู่ 2 หลังที่อยู่ติดกันคือ ศาลเจ้าโจวซือกง และศาลเจ้ากวนอู แต่ศาลเจ้าทั้ง ๒ มีความเก่าแก่และทรุดโทรมเป็นอย่างมาก ในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีชาวจีนจากมณฑลฮกเกี้ยน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของ สกุลตันติเวชกุล และ สกุลสิมะเสถียร ได้เดินทางมากราบไหว้ที่ศาลเจ้าทั้งสองนี้ และได้เห็นถึงความทรุดโทรมจนยากที่จะบูรณะหรือซ่อมแซมใหม่ ทั้ง ๒ ท่าน จึงได้ตัดสินใจสร้างศาลเจ้าขึ้นใหม่ให้เป็นศาลเดียว และได้เปลี่ยนองค์พระประธานเป็นเจ้าแม่กวนอิม ในช่วงแรกๆ ยังมีคณะสงฆ์จากจีนมาจำพรรษา จึงเรียกว่า กุฎิจีน และต่อมาชาวไทยเรียกเพี้ยนกันไปมากลายเป็นชื่อ กุฎีจีน ที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบันค่ะ

       ความสวยงามต้องมนต์ขลังของศาลเจ้าอันเก่าแก่แห่งนี้ ไม่ใช่มีเพียงแค่เครื่องไม้แกะสลัก ที่ประดับประดาอยู่ทุกส่วนของศาลเจ้าที่ยิ่งพินิจ ยิ่งชวนตะลึงเพียงเท่านั้น  แต่เป็นความเก่า ความขลังของการอนุรักษ์สิ่งเดิมๆ ไว้อย่างเดิมทุกประการ ไร้การแต่งแต้มสีสันใหม่ๆ ที่มาเคลือบลงบนงานไม้ จนบดบังเอกลักษณ์ชิ้นงานที่น่าชม แม้ภาพรวมจะดูเก่า แต่ศาลเจ้ากลับดูสะอาดสะอ้าน ทุกอย่างมีการจัดการดูแลอย่างเป็นระเบียบ รอยเขม่าจากควันธูปที่ผ่านกาลเวลาแห่งศรัทธามาอย่างยาวนาน ก็ยังคงมีให้เห็นอยู่

ศาลเจ้าเกียนอันกงหลังเล็กๆ แต่ความประณีต และความวิจิตรงดงาม

ค่าดัชนีกันแดด UPF50+ เป็นระดับการป้องกันแสงแดดที่สูงที่สุดในโลก ปิดกั้นรังสียูวี ได้ถึง 98% ป้องกันผิวแดง มะเร็งผิวหนัง และการเกิดริ้วรอย

      ภายในศาลเจ้ามีความสงบ เหมาะกับการสวดมนต์ นั่งสมาธิเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ที่นี่ยังแตกต่างจากศาลเจ้าทั่วไป ที่ไม่ได้มีวัตถุบูชาให้เช่า นั่นเป็นเพราะเจตนาของคนในพื้นที่ที่ดูแล เน้นการชำระจิตใจให้สะอาดมากกว่าการยึดถือวัตถุเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ

ประชาสัมพันธ์


 

  ภายในศาลเจ้า หากมาในจังหวะดีๆ อาจจะได้เจอค้างคาว ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ เจ้าถิ่นที่ผู้เขียนก็มั่นใจว่าอยู่กันมายาวนานไม่แพ้ชาวบ้านกุฎีจีนแน่นอนค่ะ หากถามว่าทำไมแถบนี้จีงมีค้างค้าวอาศัย?

ก่อนความเจริญจะมาเยือน ลักษณะพื้นที่เป็นสวนผลไม้มากมาย

       ย้อนกลับไปหลายสิบปีก่อน พื้นที่ฝั่งธนบุรี โดยเฉพาะในแถบย่านนี้ ก่อนความเจริญจะมาเยือน ลักษณะพื้นที่เป็นสวนผลไม้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวนผลไม้ทั้งทุเรียน มะพร้าว ลำไย ลิ้นจี่ฯลฯ ที่ผลิดอก ออกผลสมบูรณ์มาก เนื่องจากดินดีและมีความสมบูรณ์มาก ในสมัยก่อนจัดว่าดินแถวนี้เป็นดินกร่อย เป็นที่สะสมของสารอาหารมากมาย เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากอ่าวไทย จึงมีความสมบูรณ์อีกทั้งยังเคยมีป่าโกงกาง ระบบนิเวศน์จึงจัดว่าสมบูรณ์เป็นอย่างมาก ดินดี ปลูกอะไรจึงได้ผลดี สัตว์น้ำ สัตว์ปีกย่อมชุกชุม จึงเป็นที่มาว่าเหตุใดจึงมีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากในแถบนี้ แม้ในปัจจุบัน ความเจริญมาเยือน สวนผลไม้หายไปแต่สำหรับศาลเจ้าที่พักพิงสุดท้ายของค้างคาวยังอยู่ เราจึงยังพบเห็นเจ้าสัตว์มีหูหนูมีปีกนั่นเองค่ะ

หลายสิบปีก่อน พื้นที่ฝั่งธนบุรี

การได้กลับมาไหว้ศาลเจ้าเกียนอันกง

เสมือนได้เปิดประตูทวิภพแห่งอดี

ทางเดินเล็กๆ เพื่อลัดเลาะต่อไปยังศาสนสถานที่สำคัญยิ่งของชาวพุทธ

         ศาลเจ้าอันเก่าแก่ แห่งนี้จึงเป็นประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต สัมผัสได้ถึงความทรงจำและช่วงเวลาแห่งอดีต มีอากง อาม่า ผู้สูงวัยเคยบอกไว้ว่าการได้กลับมาไหว้ศาลเจ้าเกียนอันกง เสมือนได้เปิดประตูทวิภพแห่งอดีต เพราะทุกอย่างในศาลเจ้าแห่งนี้ยังคงเดิมเช่นทุกอย่าง ไม่ว่าวันเวลาจะผ่านไปนานเท่าใด แต่ความศรัทธายังคงเดิม ร่องรอยแห่งอดีตก็ยังคงเดิม ประตูศาลเจ้าแห่งนี้ คือ ประตูสู่อดีต เมื่อไหร่ก็ตามที่พวกเขาคิดถึงอดีต ที่นี่มักจะมีคำตอบให้พวกเขาได้รำลึกถึงเสมอ  

      ออกจากศาลเจ้าเกียนอันกง ทางด้านซ้ายมือจะมีทางเดินเล็กๆ เพื่อลัดเลาะต่อไปยังศาสนสถานที่สำคัญยิ่งของชาวพุทธ มีความเป็นมา ตั้งแต่ครั้งตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่แห่งนี้ก็คือ วัดกัลยาณมิตร เราจะมาพูดคุยกันในตอนต่อไปนะคะ

โปรดติดตาม วัดไทยริมแม่น้ำเจ้าพระยา วัดที่มีต้นแบบจากวัดพนัญเชิง แห่งกรุงศรีอยุธยาค่ะ

เรียบเรียง โดย : เอกชฎา ศรีสุวรรณ์

ข้อมูลอ้างอิง  : ศาลเจ้าเกียนอันเกง ไทยสามก๊ก www.thaisamkok.com  เกียนอันเกง เมื่อรักและศรัทธามาบรรจบ สารคดี:  www.sarakadee.com/2012/07/06/kianankeng    วิกิพีเดีย ศาลเจ้าเกียนอันเกง    พระโพธิสัตว์เกียนอันเกง ศาลเจ้าเกียนอันเกง Oknation  รฦกธนบุรี นิทรรศการภาพ รพ.สมเด็จเจ้าพระยา

 



Cultures of Fermented 
by Scoby Doit
Previous ArticleNext Article